Health & Beauty

Beauty Bargains for You

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มะขามป้อม แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เป็นผลไม้ที่มีไวตามินซีสูง

ชื่อ : มะขามป้อม
ชื่ออื่น : Euphorbiaceaeชื่ออื่น : กำ ทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Emblic myrablan, Malacca tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.
วงศ์ : Euphorbiaceae
มะขามป้อม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

*ผลสด – โตเต็มที่ รสเปรี้ยวอมฝาด จะรู้สึกหวานตาม แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เป็นผลไม้ที่มีไวตามินซีสูง
*น้ำจากผล – แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้ผลโตเต็มที่ไม่จำกัดจำนวน กัดเนื้อเคี้ยวอมบ่อยๆ แก้ไอ หรือใช้ผลไม้สด 10-30 ผล ตำคั้นน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
สารเคมี : มะขามป้อมสดมีไวตามินซีประมาณ 1-2 % มะขามป้อม 1 ผล มีปริมาณไวตามินซีเท่ากับที่มีในส้ม 2 ผล นอกจากนี้พบ nicotinic acid, mucic acid, ellagic acid และ phyllemblic acid.

มะกอกน้ำ สรรพคุณ กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน

ชื่อ : มะกอกน้ำ
ชื่ออื่น : สารภี น้ำ (ภาคกลาง) สมอพิพ่าย (ระยอง)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeocarpus hygrophilus Kurz.
วงศ์ : Elaeocarpaceae

มะกอกน้ำ
ส่วนที่ใช้ : ผล เมล็ด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกลำต้น สีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นแบบสลับ แต่ช่วงปลายยอดจะออกแบบเวียน ใบ รูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลม ฐานใบมน มีหูใบ ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อย ก้านใบมีสีแดง ดอก ออกเป็นช่อแบบราซีม ออกตรงซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาว มีลักษณะเป็นริ้ว มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีเกสรตัวเมีย 1 อัน ผล เป็นรูปดรุป (drupe) มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็งมาก ภายในมี 1 เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน เมล็ด รูปกระสวย ผิวขรุขระ ออกดอกราวเมษายนถึงพฤษภาคม

สรรพคุณ : กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน
*ผล – ใช้ดองน้ำเกลือ รับประทานเป็นอาหารแทนมะกอกฝรั่ง จะมีรสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย น้ำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี
*เมล็ด – อาจกลั่นได้ น้ำมัน คล้ายน้ำมันโอลีฟ ( Olive Oil ) ของฝรั่ง
*ดอก – แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ

มะกอก เนื้อผลมะกอก มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ โดยน้ำดีไม่ปกติ และมีประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

ชื่อ : มะกอก
ชื่ออื่น : มะกอกฝรั่ง มะกอกหวาน (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Jew’s plum, Otatheite apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spondias cytherea Sonn.
วงศ์ : Anacardiaceae
มะกอก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพส ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด

กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน
ส่วนที่ใช้ : ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด
*เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ โดยน้ำดีไม่ปกติ และมีประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
*น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูดี
*ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี เช่น ผลมะขามป้อม
*เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
*เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใช้ผสมยามหานิล
*ใบอ่อน – รับประทานเป็นอาหาร
วิธีใช้ : ใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้ และปรุงอาหาร

กานพลู แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง

ชื่อ : กานพลู
ชื่ออื่น : Caryophyllus aromatica L. ; Eugenia aromatica (L.) Baill; E.Caryophylla (Spreng.) Bullock et Harrison; E.caryophyllata Thunb.
ชื่อสามัญ : Clove Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
วงศ์ : Myrtaceae
กานพลู

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด
กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร

กลุ่มยาแก้ปวดฟัน

ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลู
*เปลือกต้น – แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
*ใบ – แก้ปวดมวน
*ดอกตูม – รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
        ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน

*ผล – ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
*น้ำมันหอมระเหยกานพลู – ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

*แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง
ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม
ในผู้ใหญ่ – ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
ในเด็ก – ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม
เด็กอ่อน – ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้

*ยาแก้ปวดฟัน
ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้
หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด

*ระงับกลิ่นปาก
ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง
สาร เคมี : Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla – 3(12)-6-dien-4-ol

ว่านหางจระเข้ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด

ชื่อ : ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่น : หาง ตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.  ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill
วงศ์ : Asphodelaceae
ว่านหางจระเข้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย

ส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า

*ใบ – รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
*ทั้งต้น – รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
*ราก – รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด
*ยางในใบ – เป็นยาระบาย
*น้ำวุ้นจากใบ – ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น
*เนื้อวุ้น – เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
*เหง้า – ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด

*ใช้เป็นยาภายใน
1. เป็นยาถ่าย
ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม คลื่นไส้ อาเจียน น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบกับตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ
วิธีการทำยาดำ
ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่ และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก) ต้นที่เหมาะจะตัด ควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบ และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน
ยาดำ มีลักษณะสีแดงน้ำตาล จนถึงดำ เป็นของแข็ง เปราะ ผิวมัน กลิ่นและรสขมคลื่นไส้ อาเจียน
สารเคมี – สารสำคัญในยาดำเป็น G-glycoside ที่มีชื่อว่า barbaloin (Aloe-emodin anthrone C-10 glycoside)
ขนาดที่ใช้เป็นยาถ่าย – 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม ประมาณ 1-2 เม็ดถั่วเขียว บางคนรับประทานแล้วไซ้ท้อง

2. แก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ
โดยเอาใบมาปอกเปลือกออก เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน วันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ

3. แก้อาการปวดตามข้อ
โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบออก เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 2 ช้อนแกง บางคนบอกว่า เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ อาการปวดตามข้อจะทุเลาทันที แต่หลายๆ คนบอกว่า อาการจะดีขึ้นหลังจากรับประทานติดต่อกันสองเดือนขึ้นไป สำหรับใช้รักษาอาการนี้ ยังไม่ได้ทำการวิจัย

*ใช้สำหรับเป็นยาภายนอก
ใช้ส่วนวุ้น ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด

1. รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก
ใช้วุ้นในใบสดทา หรือแปะที่แผลให้เปียกอยู่ตลอดเวลา 2 วันแรก แผลจะหายเร็วมาก จะบรรเทาปวดแสบ ปวดร้อน หรืออาการปวดจะไม่เกิดขึ้น แผลอาจไม่มีแผลเป็น (ระวังความสะอาด)

2. ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา และแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
- ป้องกันการถูกแดดเผา ใช้ทาก่อนออกแดด อาจใช้ใบสดก็ได้ แต่การใช้ใบสดอาจจะทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าจะลดการทำให้ผิวหนังแห้ง อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืช หรืออาจจะเตรียมเป็นโลชันให้สะดวกในการใช้ขึ้น
- รักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผา หรือไหม้เกรียมจากการฉายแสง โดยการทาด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ จะลดการอักเสบลง แต่ถ้าใช้วุ้นทานานๆ จะทำให้ผิวแห้ง ต้องผสมกับน้ำมันพืช ยกเว้นแต่ จะทำให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ

3. แผลจากของมีคม แก้ฝี แก้ตะมอย และแผลที่ริมฝีปาก
เป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาด บาดแผลก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน นำวุ้นจากใบแปะตรงแผลให้มิด ใช้ผ้าปิด หยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้เปียกอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้

4. แผลจากการถูกครูด หรือถลอก
แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก ใช้ใบว่านหางจระเข้ล้างให้สะอาด ผ่าเป็นซีก ใช้ด้านที่เป็นวุ้นทาแผลเบาๆ ในวันแรกควรทาบ่อยๆ จะทำให้แผลไม่ค่อยเจ็บ และแผลหายเร็วขึ้น

5. รักษาริดสีดวงทวาร
นอกจากจะช่วยรักษาแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวด อาการคันได้ด้วย โดยทำความสะอาดทวารหนักให้สะอาดและแห้ง ควรปฏิบัติหลังจากการอุจจาระ หรือหลังอาบน้ำ หรือก่อนนอน เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบ แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย เพื่อใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ถ้าจะให้เหน็บง่าน นำไปแช่ตู้เย็น หรือน้ำแข็งให้แข็ง จะทำให้สอดได้ง่าย ต้องหมั่นเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย

6. แก้ปวดศีรษะ
ตัดใบสดของว่านหางจระเข้หนาประมาณ ? เซนติเมตร ทาปูนแดงด้านหนึ่ง เอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ

7. เป็นเครื่องสำอาง
7.1 วุ้นจากใบสดชโลมบนเส้นผม ทำให้ผมดก เป็นเงางาม และเส้นผมสลวย เพราะวุ้นของว่านหางจระเข้ทำให้รากผมเย็น เป็นการช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี ผมจึงดกดำเป็นเงางาม นอกจากนั้นแล้ว ยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะด้วย


7.2 สตรีชาวฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้รวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า (เนื้อในของเมล็ดสะบ้ามีสีขาว ส่วนผิวนอกของเมล็ดสะบ้ามีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมแบนๆ ใช้เป็นที่ตั้งในการเล่นสะบ้า) ต่อเนื้อในเมล็ดสะบ้าประมาณ ? ของผลให้ละเอียด แล้วคลุกรวมกับวุ้น นำไปชโลมผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง รักษาศีรษะล้าน

7.3 รักษาผิวเป็นจุดด่างดำ ผิวด่างดำนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมาก หรือถูกแสงแดด หรือเป็นความไวของผิวหนังแต่ละบุคคล ใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง หลังจากได้ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสะอาด ต้องมีความอดทนมาก เพราะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ จึงจะหายจากจุดด่างดำ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ควรใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ทา จะทำให้ผิวหนังมีน้ำ มีนวลขึ้น

7.4 รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อ ช่วยเรียกเนื้อ ช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ

7.5 โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังลองใช้กับคนไข้ที่เป็นแผล เกิดขึ้นจากนั่ง หรือนอนทับนานๆ ( Bed sore )
ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางที่เตรียมขายในท้องตลาดหลายารูปแบบ เช่น ครีม โลชัน แชมพู และสบู่
สำหรับสาระสำคัญที่สามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอื่นๆ นั้น ได้ค้นพบว่าเป็นสาร glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory พบในทุกๆ ส่วนของว่านหางจระเข้

ข้อควรระวังในการใช้ :
หากใช้เป็นยาภายใน   คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
หากใช้เป็นยาภายนอก   อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
นอกจากนี้พบว่า สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง

สารเคมี:
ใบมี Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine.

ต้นเพชรสังฆาต ใช้เป็นยาแก้ ริดสีดวงทวารหนัก

ชื่อ : ต้นเพชรสังฆาต
ชื่ออื่น : ขั่น ข้อ (ราชบุรี) สันชะควด (กรุงเทพฯ) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis L.
วงศ์ : Vitaceae
ต้นเพชรสังฆาต

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบยาว 2-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี 1 เมล็ด

*น้ำจากต้น – ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปรกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร
*ใบยอดอ่อน – รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย
*ใบ ราก – เป็นยาพอก
*เถา – ใช้เป็นยาแก้ ริดสีดวงทวารหนัก

*ยาแก้ริดสีดวงทวาร
1. ใช้เถาสด 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้อ รับประทานสดๆ ถ้าเคี้ยวจะคันปากคันคอ เพราะในสมุนไพรนี้จะมีสารเป็นผลึกรูปเข็มอยู่มาก เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในต้นบอน ต้นเผือก การรับประทานจึงใช้สอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขาม แล้วกลืนลงไป รับประทาน 10-15 วัน จะเห็นผล
2. ใช้เถาตากแห้ง บดเป็นผง ใส่แคบซูล ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) รับประทานครั้งละ 2 แคบซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทาน 5-7 วัน อาการจะดีขึ้น รับประทานต่อจะหาย

สารเคมี :
เถา มีผลึก calcium oxalate รูปเข็มเป็นจำนวนมากต้นสด 100 กรัม ประกอบด้วย carotene 267 มก., ascorbic acid (Vitamin C.) 398 มก.

ต้นครอบฟันสี ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน

ชื่อ : ต้นครอบฟันสี
ชื่ออื่น : ครอบ ครอบจักรวาฬ ตอบแตบ บอบแปบ มะก่องเข้า (พายัพ) ก่อนเข้า (เชียงใหม่) โผงผาง (โคราช ) ครอบตลับ หญ้าขัดหลวง หญ้าขัดใบป้อม ขัดมอนหลวง
ชื่อสามัญ : Country mallow, Indian mallow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abutilon indicum (L.) Sweet
วงศ์ : Malvaceae
ต้นครอบฟันสี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นสูงไม่เกิน 5 ฟุต และจะเป็นขนสีขาวนวล ใบจะกลมและโตประมาณ 7 ซม. ใบค่อนข้างหนาจะมีขนสีขาวนวล ดอกจะโตประมาณ 2-3 ซม. เป็นดอกสีเหลือง ผลนั้นจะมีลักษณะกลมเป็นกลีบๆ คล้ายฟันสีที่ใช้สีข้าวแต่ชนิดนี้ผลจะเป็นรูปตูมๆ ไม่บานอ้า เหมือนชนิดอื่น

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ราก และเมล็ด เก็บในฤดูร้อนและฤดูหนาว ตัดทั้งต้น ล้างสะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้


*ทั้งต้น – รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน
*ราก – รสจืด ชุ่ม เย็น ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
*เมล็ด – ใช้แก้บิดมูกเลือด ฝีฝักบัว
 
*ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน ใช้ภายนอก ตำพอก
*รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง
*เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง

ตำรับยา :
*แก้ผื่นคัน เนื่องจากการแพ้
ใช้ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน

*แก้ริดสีดวงทวาร
ใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล

*แก้หกล้ม เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง
ใช้รากแห้ง 60 กรัม ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน

*แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ
ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน

*แก้คอตีบ
ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงู ( Achyranthes aspera L. A. Bidentata BL., A.longiforia Mak. ) สด กับรากว่านหางช้าง ( Belamcanda. Chinensis DC. ) สด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน

*แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง
ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน

*ใช้แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง
ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ

*แก้บิดมูกเลือด
ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

*แก้ฝีฝักบัว
ใช้เมล็ด 1 ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง พอกที่แผล

สารเคมี :
*ทั้งต้น มี Flavonoid glycoside, Phenols, Amino acids, น้ำตาล (พวก Flavonoid glycoside มี Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside)
*ใบ มี Mucilage, Tannins, Organic acid, Traces of asparagin และเถ้าที่ประกอบด้วย Alkaline sulphates, Chlorides, magnesium phosphate และ Calcium carbonate
*ราก มี Asparagin
*เมล็ด มีไขมันประมาณ 5% fatty acid ซึ่งมี Oleic acid 41.3% Linoleic acid 26.67% Linolenic acid 6.8% Stearic acid 11.17% Palmitic acid 5.08% Non-saponified matter ประมาณ 1.77% (ซึ่งเป็นพวก Sitosterol)
*กากเมล็ด ประกอบด้วย Raffinose (C18 H32 O16)

เทียนตาตั๊กแตน ขับลม บำรุงกำลัง แก้เส้นศูนย์กลางท้องพิการ แก้ชีพจรอ่อนหรือพิการ แก้นอนสะดุ้งผวา แก้เสมหะพิการ แก้กำเดา

ชื่อ : เทียนตาตั๊กแตน
ชื่ออื่น : เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน(ภาคกลาง)ผักชี(ขอนแก่น เลย)
ผักชีตั๊กแตนผักชีเทียน(พิจิตร)ผักชีเมือง(น่าน)
ชื่อสามัญ : Dill
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anethum graveolens L.
วงศ์ : UMBELLIFERAE
เทียนตาตั๊กแตน

พืชล้มลุกมีอายุ 1-2 ปี ลำต้นเรียบและตรง มีรูกลวงตลอดความยาว ใบประกอบแบบขนนก ดอกเป็นช่อออกจากฐานเดียวกัน
กลีบดอกโค้งเข้า ปลายกลีบมีหยักเว้า ผลรูปรี มีขอบนูนขึ้นมาเป็น 3 แนวที่ด้านหลังเมล็ด

ขับลม บำรุงกำลัง แก้เส้นศูนย์กลางท้องพิการ แก้ชีพจรอ่อนหรือพิการ แก้นอนสะดุ้งผวา แก้เสมหะพิการ แก้กำเดา
ยาพื้นบ้าน : ทั้งต้น ผสมผักชีลาวทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้หวัด ตำรายาไทยใช้ ผล บำรุงกำลัง ขับลม เส้นท้องพิการ แก้นอนสะดุ้ง คลุ้มคลั่ง

เทียนดำ แก้ท้องเสียและถ่ายท้อง ไอและหอบ

ชื่อ : เทียนดำ
ชื่ออื่น : BLACK CARAWAY, BLACK CUMIN, SMALL FENNEL, NIGELLA, FENNEL FLOWER  เทียนแดง, เทียนแดง Thian daeng (Central), ดอกเทียนดำ, ต้นเทียนดำ, เทียนดำ, ใบเทียนดำ, ผลเทียนดำ, รากเทียนดำ, เทียนดำหลวง, ราดำ
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nigella sativa Linn.
วงศ์ : Ranunculaceae

เทียนดำ
เทียนดำเป็นพืชขนาดเล็กอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูงราว 45 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปสามเหลี่ยม ขอบใบหยักลึกเป็นแฉกแบบขนนก 1-3 ชั้น

1. ท้องเสียและถ่ายท้อง: คั้นน้ำผักขม ผสมกับเทียนดำป่น ดื่มวัน3ครั้งเมื่อหายแล้วหยุดดื่ม
2. ไอและหอบ: เทียนดำป่นผสมน้ำผึ้ง รับประทานเมื่อเริ่มจะมีอาการกำเริบ 1-2 ช้อนโต๊ะ
3. โรคผิวหนัง: น้ำมันเทียนดำครึ่งช้อนชา น้ำมันดอกกุลาบครึ่งช้อนชา แป้งสาลี 1 ช้อนชา ผสมแป้งนวดจนเป็นก้อน นำน้ำส้มสายชูเจือจาง 1 ช้อนชา ทาบริเวณที่เป็น และเอาแป้งที่นวดวางบริเวณที่เป็น
4. สิว: เทียนดำป่นหนึ่งส่วน, เปลือกทับทิมป่นครึ่งส่วน, น้ำส้มสายชูแอปเปิล(น้ำส้มสายชูแท้) หนึ่งส่วน, น้ำมันเทียนดำ, ผสมทุกอย่างตั้งไฟกวนจนเข้ากันดี ทาหัวสิวหรือฝีก่อนนอน
5. ไซนัส: น้ำมันเทียนดำ น้ำมันมะกอก ผสมให้เข้ากันดี หยอดรูจมูก 3 หยดทุกเช้า 15 วัน
6. หวัด: น้ำมะนาว น้ำหัวหอม น้ำมันเทียนดำ ผสมเข้ากันดี หยอดจมูก 2-3 หยด
7. ไข้หวัดใหญ่: เทียนดำป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ ชงกับนมสดอุ่น 1 แก้วใหญ่ดื่มตลอดวัน
8. คอและต่อมทอมซิลอักเสบ: เทียนดำครึ่งช้อน, น้ำชาอุ่น, ดื่มน้ำและกลั้วคอด้วยชาผสมน้ำมันเทียนดำ
9. เหงือกและฟันอักเสบ: เทียนดำป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู้แอปเปิลหนึ่งช้อนชา ผสมกันใช้กลั้วคอ และนวดเหงือกด้วยน้ำมันเทียนดำ
10. ปวดหัว: เทียนดำป่น, น้ำมันมะกอก, ผสมกันและคั้นเอาแต่น้ำ หยอดจมูกทั้งสองข้าง
11. ไมแกรน: น้ำมันเทียนดำหยอดหูทันทีที่ปวดหัว พร้อมทั้งเอาน้ำมันนวดท้ายทอยทันทีที่ปวด เอาเม็ดเทียนดำต้มน้ำ ชงกับน้ำผึ้งดื่ม
12. ปวดหลัง: เทียนดำป่นหนึ่งกิโลกรัม น้ำผึ้ง 150 กรัม ผสมเข้ากัน รับประทานสองครั้ง ครั้งละหนึ่ง ช้อนโต๊ะ เช้าและเย็นหลังอาหารหนึ่งชั่วโมง เป็นเวลา10 วัน (ห้ามเว้นเด็ดขาด)
13. ประสาทเครียดหรือกังวลใจ: นมสดอุ่น น้ำมันเทียนดำห้าหยด น้ำผึ้ง ชงทานเมื่อมีอาการ
14. โรคปวดตามข้อ: เม็ดเทียนดำป่น, น้ำมันเทียนดำ, น้ำผึ้ง, เอาเม็ดเทียนดำต้มน้ำจนเดือดสักครู่ เทใส่แก้ว หยดน้ำมันเทียนดำใส่ชงด้วยน้ำผึ้งดื่ม
15. กระตุ้นสมอง: น้ำมันเทียนดำ, สะระแหน่, น้ำผึ้ง, ต้มสะระแหน่ หยดน้ำมัน 7 หยด ชงด้วยน้ำผึ้งดื่ม
16 ความจำดี: สะระแหน่ป่นหนึ่งแก้ว, เทียนดำป่นหนึ่งแก้ว, ยีสต์เม็ดแห้งหนึ่งช้อนโต๊ะ, ขิงป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง, ทั้งหมดผสมให้เข้ากันดี บรรจุขวดแก้ว ทานหนึ่งช้อนทุกๆเช้า

กิ่งเทียน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำยากันเล็บถอด เล็บช้ำ เล็บขบ แก้ปวดนิ้วมือนิ้วเท้า แผลมีหนอง ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ฝี แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลฟกช้ำ ผิวหนังอักเสบ

ชื่อ : กิ่งเทียน
ชื่ออื่น : เทียนขาว เทียนแดง เทียนไม้ (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Henna
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lawsonia inermis  L.
วงศ์ : Lythraceae
กิ่งเทียน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 3-5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียวนวล แตกกิ่งก้านเล็กเป็นพุ่มกว้าง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงหรือสีขาว กลีบดอก 4 กลีบ ยับย่น เกสรเพศผู้มี 8 อัน เกสรเพศเมียมี 1 อัน ผล รูปทรงกลม สีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาล ผลแห้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบสดและแห้ง ราก เปลือกต้น ดอก ผล


ใบ
-  มีตัวยาสำคัญชื่อลอร์โซน (Lawsone) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำยากันเล็บถอด เล็บช้ำ เล็บขบ แก้ปวดนิ้วมือนิ้วเท้า แผลมีหนอง ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ฝี แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลฟกช้ำ ผิวหนังอักเสบ
- รักษากามโรค แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับปัสสาวะ
- ในสมัยโบราณ ใช้เป็นเครื่องสำอาง พอกเล็บ เป็นยาย้อมผม ขน

ราก
- ใช้ขับประจำเดือน รักษาตาเจ็บ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคลมบ้าหมู

เปลือก
- ขับน้ำเหลืองเสียในโรคเรื้อน

ดอก
- ใช้ขับประจำเดือน แก้ปวดศีรษะ รักษาดีซ่าน

ผล
- ใช้ขับประจำเดือน
 
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ยากันเล็บถอด เล็บขบ เล็บช้ำ
วิธีที่ 1  ใช้ใบเทียนกิ่งสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียด เอาข้าวสุกปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าแม่มือ เผาไฟให้บางส่วนดำเป็นถ่านตำรวม ใส่เกลือเล็กน้อย พอกที่เล็บซึ่งถูกของหนักๆ ทับ หรือตรงจมูกเล็บเป็นหนอง หนองก็จะหาย เล็บไม่ถอด
วิธีที่ 2 ใช้ใบเทียนกิ่งสด 20-30 ใบ

ว่านมหาเมฆ ช่วยรัดมดลูก กระชับช่องคลอด สมานแผลหลังผ่าตัดคลอดลูก

ชื่อ : ว่านมหาเมฆ
ชื่ออื่น : อาวแดง, กระเจียวแดง
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aeruginosa Roxb.
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ว่านมหาเมฆ

ลักษณะลำต้น : เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง-ข่า มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน หัวมีกลิ่นคล้ายขิง-ข่า

ลักษณะใบ : ใบรูปหอก ใบจะโผล่ขึ้นมาในช่วงฤดูฝนหลังจากที่ดอกเริ่มเหี่ยวเฉา และใบจะเริ่มเหี่ยวเฉาช่วงต้นฤดูหนาว
ลักษณะดอก : จะออกดอกระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม ออกเป็นช่อจากใจกลางต้น ช่อดอกสูง ๑๒ - ๑๘ เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของต้น ถ้าอายุมากเหง้าจะมีขนาดใหญ่ช่อดอกก็จะใหญ่ตามไปด้วย ดอกมีใบประดับรูปกรวยเรียงซ้อนกัน ปลายช่อดอกมีสีชมภูถึงแดงเข้ม โคนช่อดอกมีสีเขียวอ่อนถึงเขียว อีกทั้งยังมีดอกเป็นหลอดรูปกรวยขนาดเล็กสีเหลืองบริเวณใบประดับโคนช่อดอก
  -ช่วยรัดมดลูก
  -กระชับช่องคลอด
  -สมานแผลหลังผ่าตัดคลอดลูก
  -ปรับสภาพมดลูกให้มีโอกาสตั้งครรภ์
  -บำรุงเต้านมให้เต่งตึง
  -แก้ปวดมดลูก
  -แก้มดลูกอักเสบ
  -ขับระดูขาว
  -แก้ฝ้าหน้าดำ
  -ขับน้ำคาวปลาแทนการอยู่ไฟ
  -เพิ่มน้ำนมสำหรับเลี้ยงทารก
  -บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง

แหล่งที่พบในไทย : โดยส่วนใหญ่สามารถพบตามป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ชอบดินร่วนปนทราย พบทั่วทุกภาค แต่หาดูได้ง่ายและสวยงามมาก คือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึ

ว่านสากเหล็ก รับประทานเป็นยาชักมดลูก เช่น คลอดบุตรใหม่ๆ มดลูกลอย เพราะความอักเสบ

ชื่อ : ว่านสากเหล็ก
ชื่ออื่น : จ๊าลาน มะพร้าวนกคุ่ม (เชียงใหม่)  พร้าวนก พร้าวนกคุ่ม (นครศรีธรรมราช)  ละโมยอ (มาลายู-นราธิวาส)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Molineria latifolia  Herb. ex Kurz
วงศ์ : HYPOXIDACEAE
ว่านสากเหล็ก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายพืชพวกปาล์ม ใบ เรียงสลับติดกันที่โคนต้น แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก พับเป็นร่อง ๆ ตามยาว คล้ายใบปาล์ม กว้างประมาณ 4 – 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบ ก้านใบยาว 25 – 30 เซนติเมตร โคนแผ่กว้างหุ้มลำต้น ดอก มี 6 กลีบ สีเหลือง โคนเชื่อมติดกัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 เซนติเมตร ดอกออกรวมกันแน่น เป็นช่อรูปทรงกระบอกปลายแหลม ยาว 5 – 7 เซนติเมตร กว้าง ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ผล ผลแก่สีขาวถึงแดง ขนาดยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ส่วนที่ด้านขั้วป่อง ออกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และค่อย ๆ เรียวไปทางปลายผล ขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ราก

ราก  -  รับประทานเป็นยาชักมดลูก เช่น คลอดบุตรใหม่ๆ มดลูกลอย เพราะความอักเสบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวของมดลูกจากที่เดิมให้เป็นปกติ

วิธีใช้ : นำรากมาหั่นบางๆ ตากแห้ง ดองกับสุรารับประทานเป็นยาชักมดลูก

ว่านชักมดลูก ช่วยรักษามดลูกที่ทรุดตัว หรือลูกว่ามดลูกต่ำให้เข้าที่ นอกจากนี้ ยังช่วยกระชับช่องคลอด

ชื่อ : ว่านชักมดลูก
ชื่ออื่น :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma xanthorrhiza Roxb.
วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ว่านชักมดลูก
ไม้ล้มลุก  ลงหัวจำพวกว่าน  ใบสีเขียวคล้ายใบพุทธรักษา กลางใบสีแดง  ลงหัวในฤดูฝน  หัวกลมโต  เนื้อในสีเหลืองอ่อน

เหง้า – เป็นยาบีบมดลูก  ทำให้มดลูกเข้าอู่  ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ  รักษาอาการอาหารไม่ย่อย
สรรพคุณ "ว่านชักมดลูก" ไทย
       ตามบันทึกในตำรับยาแผนโบราณได้กล่าวไว้ว่า "ว่านชักมดลูก" มีคุณประโยชน์ และให้ความปลอดภัยในการใช้สำหรับผู้หญิงมากกว่ากวาวเครือ เพราะว่านชักมดลูกมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ เสริมหน้าอก ทำให้ผิวพรรณขาวนวล และลบรอยเหี่ยวย่นได้เหมือนกัน แต่ "ว่านชักมดลูก" จะม่คุณสมบัติพิเศษกว่า "กวาวเครือ"  คือ ช่วยรักษามดลูกที่ทรุดตัว หรือลูกว่ามดลูกต่ำให้เข้าที่ นอกจากนี้ ยังช่วยกระชับช่องคลอด กระชับหน้าท้องที่หย่อนยานอันเกิดจากการคลอดบุตร ทำให้หน้าท้องตึงเรียบเหมือนสาวๆ และยังช่วยให้ผู้หญิงที่มีอารมณ์ทางเพศหายไปกลับมาเหมือนเดิม
       นอกจากนี้แล้ว "ว่านชักมดลูก" ยังช่วยให้ผู้หญิงที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว อ่อนไหวง่าย โกรธง่ายหายไป ทำให้คึกคักเข้มแข็งขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันมะเร็งปากช่องคลอด หรือภายในมดลูก ช่วยรักษาซีส และเนื้องอกภายในช่องคลอดให้ฝ่อตัวหรือเล็กลงได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ผลชะงัด เพราะฉะนั้น หากจะเทียบกันแล้ว "ว่านชักมดลูก" จึงมีคุณประโยชน์เหนือกว่ากวาวเครือมาก
        แต่ทั้งนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่า การใช้ว่านชักมดลูกเพียงอย่างเดียว จะให้สรรพคุณได้ไม่มากเท่าที่ควร เพราะตามตำรายาโบราณได้ระบุถึงการนำสมุนไพรมาใช้งานว่า ต้องปรุงขึ้นตามขวดยานั้นๆ และจำเป็นต้องอาศัยสมุนไพรอีกหลายชนิดผสมเข้าไป จึงจะช่วยให้ออกฤทธิ์ได้ผลสูงสุด ซึ่งสรรพคุณของว่านชักมดลูกที่มีบันทึกตามตำรับยาแผนโบราณเมื่อหลายปีก่อน ได้ระบุถึงผลการนำมาบำบัด อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายไว้ว่า
        1. ช่วยกระชับช่องคลอดภายในสตรี
        2. ทำให้อารมณ์ทางเพศสมบูรณ์
        3. ดับกลิ่นปาก กลิ่นตัว กลิ่นภายในช่องคลอด ให้ลดลงหรือหายไป
        4. ช่วยให้ผิวพรรณบนใบหน้าขาวนวล และมีเลือดฝาด
        5. ทำให้มดลูกต่ำ และอาการตกขาวดีขึ้น
        6. ช่วยรักษาอาการหน่วงเสียวมดลูก หรือเจ็บท้องน้อยเป็นประจำ ได้ดี
        7. ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง
        8. มีผลในการลดหน้าท้องที่หย่อนยาน ซึ่งเกิดจากการคลอดบุตร ทำให้หน้าท้องหดตัวและเล็กลง
        9. ช่วยเสริมสร้างทรวงอกให้เต่งตึง กระชับ ไม่เหี่ยวย่น         หรือหย่อนยาน

    จากผลการวิจัยสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์ทางยา ของว่านชักมดลูกจากสถาบันต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องพบว่า  ใน "ว่านชักมดลูก" มีสารออกฤทธิ์ที่สามารถลดการอักเสบ ยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการสังเคราะห์ของไขมัน ลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ และโคเรสเตอรอลในเลือดที่มีปริมาณสูง ยับยั้งเบาหวาน และการหดเกร็งของกร้ามเนื้อเรียบ ลดการซึมผ่านของหลอดเลือด แก้ปวด รักษาแผล ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล  ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์เป็นพิษต่อเซลล์  ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับ  กระตุ้นการผลิตน้ำดี ต้านเชื้อแบคทีเรีย  ต้นไวรัส ต้านเชื้อรา กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์น้ำเหลือง  เพิ่มน้ำหนักมดลูก  และปริมารไกลโคเจน มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ลดการสร้างเม็ดสีผิวได้ ซึ่งสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในทางยาที่มีอยู่ใน "ว่านชักมดลูก"  จริงๆ แล้ว มีมากมายหลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นก็คือ  เคอร์คิวมิน เป็นสารที่สกัดได้จากขมิ้น สารสำคัญกลุ่มนี้ให้ประโยชน์หลายประการ แต่ที่เห็นได้ชัด คือ เรื่องของกระเพาะอาหาร
      ผลสรุปทางการวิจัยยังพบอีกว่า "ว่านชักมดลูก" มีผลคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน คือฮอร์โมนที่มีอยู่ในเพศหญิง แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ตัวของว่านชักมดลูกเองไม่ใช่ฮอร์โมน แต่ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เพิ่มการขับน้ำดี และสามารถป้องกันมะเร็ง ได้

ดอกคำฝอย เป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงประสาท แก้โรคผิวหนัง ลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยป้องกันไขมันอุดตัน

ชื่อ : ดอกคำฝอย
ชื่ออื่น :
ชื่อสามัญ : Safflower, False saffron , Saffron thistle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius Linn.
วงศ์ : Compositae
ดอกคำฝอย

ลักษณะทั่วไป :  ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก


ดอกคำฝอยเป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงประสาท แก้โรคผิวหนัง ลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยป้องกันไขมันอุดตัน น้ำมันของดอกคำฝอยมีส่วนประกอบของกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในประมาณสูง (ประมาณร้อยละ 75) จึงเชื่อว่าจะทำให้ประมาณโคเลสเตอรอลในเลือดต่ำลง และจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคน พบว่า เมล็ดน้ำมันดอกคำฝอยช่วยทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือด ลดลงได้จริง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกรดไลโนเลอิกจะไปทำปฏิกิริยากับโคเลสเตอรอลในเลือด ได้เป็นโคเลสเตอรอลไลโนเลเอท (choloesterol linoleate) และยังมีรายงานว่า น้ำมันดอกคำฝอยทำให้ฤทธิ์ของเอนไซม์ ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันลดลงอีกด้วย จากผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง และในคนพบว่า น้ำมันดอกคำฝอย จะช่วยให้การอุดตันของไขมันในหลอดเลือดลดลง และช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเลือดได้ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากน้ำมันดอกคำฝอยมีฤทธิ์ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด

    สาระสำคัญ ในดอกประกอบด้วยสารสีแดงที่ชื่อคาร์ทามิน (carthamin) และสารสีเหลืองชื่อ แซฟฟลาวเวอร์เยลโล (safflower yellow) ซึ่งเป็นสีที่ละลาย น้ำได้ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายชนิด เช่น โปรตีน เบต้าแคโรทีน ไวตามินอี เป็นต้น
    ในน้ำมันจากเมล็ด(safflower seed oil) ซึ่งได้จากการบีบเมล็ด ประกอบด้วย เบต้าแคโรทีน กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายชนิดในปริมาณสูง เช่น กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) กรดไลโนลิก (linolic acid) และกรดโอเลอิก(oleic acid) เป็นต้น

เมล็ดพริกไทย ใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ย่อยพิษตกค้างที่ไม่สามารถย่อยได้ ใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้มุตกิด (ระดูขาว)

ชื่อ : เมล็ดพริกไทย
ชื่ออื่น : พริกน้อย ( ภาคเหนือ )
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum Linn.
วงศ์ : PIPERACEAE
เมล็ดพริกไทย

เป็นต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ระบบรากของต้นพริกไทยจะมีเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆ

สรรพคุณของพริกในตำรับยาโปราณระบุไว้ว่า ดอกพริกไทย ใช้แก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง เมล็ดพริกไทยใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ย่อยพิษตกค้างที่ไม่สามารถย่อยได้ ใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้มุตกิด (ระดูขาว) แก้ลมอัมพฤกษ์ นอกจากนี้ ในเมล็ดพริกไทยยังมีสารสำคัญซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง และมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ใบพริกไทยใช้แก้ลม จุกเสียด แก้ปวดมวนท้อง เถาใช้แก้อุระเสมหะ แก้ลมพรรดึก แก้อติสาร (โรคลงแดง) รากพริกไทย ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน และช่วยย่อยอาหาร ที่สำคัญยังเป็นหนึ่งในยาที่มักนิยมนำไปเข้าเครื่องยาอายุวัฒนะด้วย
     พริกไทยที่เราใช้ประโยชน์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 แบบ คือ พริกไทยสด พริกไทยดำ และพริกไทยล่อน เคยมีคนจำนวนมากสับสนระหว่างพริกไทยดำและพริกไทยล่อน คิดว่าเป็นชนิดหรือสายพันธุ์ของพริกไทย เพราะในตำรายาบางตำรับจะใช้พริกไทยล่อน บางตำรับจะใช้พริกไทยดำ ซึ่งทั้งสองชนิดก็คือพริกไทยสดที่นำมาแปรรูปเพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ พริกไทยดำคือการนำเอาพริกไทยสดมาตากให้แห้งให้ผิวเหี่ยวย่นจนกลายเป็นสีดำ ส่วนพริกไทยล่อนทำโดยเก็บช่อพริกไทยแก่มาตากแดดเล็กน้อย แล้วนำไปนวดเพื่อแยกเมล็ดออก ใส่กระสอบแช่น้ำ 7-14 วัน แล้วจึงนำเข้าเครื่องนวด ขัดผิวให้หลุดเหลือแต่เมล็ดใน แต่สารสำคัญต่างๆ ของพริกไทยจะอยู่ในพริกไทยดำมากกว่าพริกไทยล่อน

     ตำรับยาโบราณที่ใช้พริกไทยเข้ายามีหลายตำรับ อาทิ ยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย เอาข้าวสารคั่วเกลือทะเล พริกไทยล่อน เอาอย่างละเท่าๆ กันบดผงปั้นกับน้ำผึ้ง เม็ดเท่าเมล็ดพุทรา กินครั้งละ 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้า-เย็น และก่อนนอน แก้ผอมแห้งแรงน้อย สุขภาพอนามัยดี ภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน แก้ไข้เรื้อรัง มีไข้ต่างๆ ตลอดเวลาไม่ยอมหาย ให้เอาใบกะเพราแห้ง ใบบัวบกแห้ง พริกไทยดำ สิ่งละเท่าๆ กัน บดเป็นผงปั้นเป็นเม็ดเท่าไข่จิ้งจก กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น กระดูกหัก ใช้เปลือกต้นของสบู่ขาว ร่วมกับต้นส้มกบ และพริกไทย 5 เม็ด ตำผสมเหล้าขาวแล้วผัดให้อุ่น พอกให้หนา แล้วใช้ไม้พันผ้าให้แน่น ยากินให้ผิวสวยเสมอ เอาขมิ้นอ้อย กระชาย แห้วหมู พริกไทย ทุบๆ แล้วดองด้วยน้ำผึ้ง กินก่อนนอนทุกวัน ผิวท่านจะสวยเสมอ
     ตะขาบกัด ใช้ผงพริกไทยโรยบริเวณแผล ปวดฟัน ใช้พริกไทย พริกหาง บดเป็นผง ผสมยาขี้ผึ้งปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ใช้อุดฟันที่ปวด ท้องอืดอาหารไม่ย่อย ใช้พริกไทยแช่ในน้ำส้มสายชูทิ้งไว้นานสัก 2 ชั่วโมง นำไปตากแห้งแล้วนำกลับมาบดเป็นผงให้ละเอียด ผสมกับน้ำส้มสายชูที่ใช้แช่นั้น แล้วปั้นเป็นเม็ดใช้รักษา รักษาอาการเมื่อยขบ เป็นเหน็บชาง่ายในฤดูหนาวหรือฤดูฝน โดยใช้ไข่ไก่ น้ำกะทิ และพริกไทย ตีให้เข้ากันแล้วตุ๋นให้สุก และนำพริกไทยล่อนเข้าเครื่องยากับเปลือกไข่ไก่ นำไปผิงไฟให้เหลืองแล้วบดเป็นผงละเอียดผสมกับน้ำต้มสุก ใช้รักษาอาการชักจากการขาดแคลเซียม
     ในยุคที่น้ำมันหอมระเหยเข้ามามีบทบาทในวงการสุขภาพมาก ยังพบว่าพริกไทยได้ถูกนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย หรือที่เรียกว่า black pepper oil ที่สกัดจากพริกไทยดำ มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวด ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก กระตุ้นกำหนัด ต้านพิษ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย ลดไข้ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท รักษาโรคกระเพาะ
     ปัจจุบันมีงานศึกษาวิจัยในการใช้ประโยชน์อื่นๆ ของพริกไทยอย่างน่าสนใจ โดยส่วนหนึ่งของงานวิจัยก็เป็นการยืนยันสรรพคุณของการใช้มาตั้งแต่โบราณ และอีกส่วนหนึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดทางนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น งานวิจัยที่พบว่าพริกไทยมีสารต้านการก่อมะเร็ง ช่วยเร่งการทำงานของตับให้ทำลายสารพิษได้มากขึ้น ใช้น้ำมันหอมระเหยรักษาผู้ติดบุหรี่ พบว่าช่วยลดความอยากและความหงุดหงิดลงได้ ที่น่าสนใจเป็นการวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่พบว่าป้องกันโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา และที่กำลังเป็นเงินเป็นทอง สร้างรายได้ให้กับผู้ค้าสมุนไพรไม่น้อยตอนนี้ คือการนำสารสกัดพริกไทยไปผลิตเป็นครีมหรือเจลลดความอ้วน ซึ่งเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ง่าย และอาจมีการนำไปปรุงแต่งเข้าเครื่องยากับสมุนไพรอื่นๆ ที่มีสรรพคุณคล้ายคลึงกันเพื่อเสริมฤทธิ์การลดไขมัน ก็นับว่าเป็นก้าวย่างของการแปรรูปผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าอย่างน่าสนใจ.
  ท่านผู้อ่านคงเคยเห็น พริกไทยดำ ( Black peper ) และ พริกไทยขาว ( White peper ) ซึ่งทั้งสองอย่าง ได้จากผลพริกไทยที่วิธีเก็บ และเตรียมต่างกัน นั่นคือ พริกไทยดำ ได้จากการเก็บผลพริกไทยที่เป็นผลโตเต็มที่ แก่แต่ยังไม่สุก เมื่อเก็บแล้วนำไปทำให้แห้ง โดยการตากแดดประมาณ 5-6 วัน ส่วนพริกไทยขาว ( White pepper ) นั้นได้จากการเก็บผลพริกไทยที่แก่จัด และผลเริ่มสุกเป็นสีแดง จากนั้นนำไปแช่น้ำ เพื่อลอกเอาเปลือกชั้นนอกออกไป โดยจะแช่ในน้ำไหล หรือน้ำนิ่งก็ได้ แต่พริกไทยที่แช่น้ำไหล จะมีสีขาวกว่าพริกไทย ที่แช่ในน้ำนิ่ง โดยจะใช้เวลาในการแช่ประมาณ 7-14 วัน หลังจากนั้น นำพริกไทยที่แช่น้ำมานวด เพื่อลอกเปลือกออก ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปตากแดดทันที โดยใช้เวลาในการตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก็จะแห้งสนิท ซึ่งสามารถทดสอบโดย ใช้ฟันขบเมล็ดพริกไทย ถ้าแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แสดงว่าแห้งสนิทดี แต่ถ้าแตกออกเป็นสองซีก แสดงว่ายังไม่แห้งสนิท หรือทดสอบโดยใช้มือกอบเมล็ดพริกไทย แล้วค่อยๆกางนิ้วออก ให้เมล็ดพริกไทยลอดระหว่างนิ้ว ถ้าเมล็ดลอดออกได้ง่าย ไม่ฝืด และเมล็ดไม่เกาะติดกัน แสดงว่าเมล็ดแห้งสนิท โดยทั่วไทยพริกไทยขาว จะมีราคาแพงกว่า พริกไทยดำ เนื่องจากมีขั้นตอนในการผลิต และค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผลิตพริกไทยดำ และประชาชนยังนิยมบริโภคพริกไทยขาว มากกว่าพริกไทยดำ แต่ในแง่สรรพคุณ ทางยาสมุนไพรนั้น พริกไทยดำจะมีตัวยามากกว่า พริกไทยขาว

พริกไทยนอกจากเป็นตัวชูรสของอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งทำให้อาหารอร่อย และถูกปากคนไทยแล้ว ผู้บริโภคจะได้ผลพลอยได้ จากกว่าที่พริกไทยเป็นยาสมุนไพรด้วย นั่นคือลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ( ช่วยขับลม ) โดยส่วนที่นำมาทำเป็นยา คือ ผลแก่จัด แต่ยังไม่สุก ( พริกไทยดำ ) มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่า พริกไทยดำจะมีน้ำมันหอมระเหยมาก ประมาณร้อยละ 2-4 และมีสารแอลคาลอยด์เป็นสารสำคัญ เช่น Piperine ซึ่งเป็นตัวทำให้มีรสเผ็ด นอกจากนี้ยังมี Piperidine, Piperitine, Peperyline, Piperolein A และ B ส่วนพริกไทยขาว ( พริกไทยล่อน ) จะมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่าพริกไทยดำ ดังนั้นตัวที่ทำให้ช่วยขับลมก็คือ พวกน้ำมันหอมระเหยนั่นเอง


วิธีเตรียมพริกไทยเพื่อทำเป็นยาสมุนไพรก็ไม่ยาก ให้นำผลแก่จัดไปตากแดดให้แห้ง ในแต่ละครั้งจะรับประทานครั้งละ 15-20 ผล ( ผลแก่จัดตากแห้ง ) ซึ่งเมื่อบดออกมาแล้วจะหนักประมาณ 0.5-1 กรัม เมื่อบดเป็นผงแล้วก็นำไปชงกับน้ำอุ่นรับประทาน หรือทำเป็นลูกกลอนก็ได้ แต่บางท่านก็รับประทานผลแก่ตากแห้ง 15-20 ผล โดยไม่บดเลยก็มี ซึ่งก็ได้เหมือนกัน เนืองจากพริกไทยจัดเป็นอาหารและยาด้วย ดังนั้นผลข้างเคียงแทบจะไม่พบเลย แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้กับหญิงมีครรภ์ เนื่องจากพริกไทยมีรสเผ็ดและจัดเป็นยาร้อน
การขยายพันธุ์ทำโดยวิธีปักชำ โดยตัดส่วนลำต้นที่ไม่แก่จัดยาวประมาณ 5-7 ข้อ ปักชำไว้จนรากงอกออกมาแข็งแรง แล้วจึงนำไปปลูก โดยต้องทำค้างไว้เกาะด้วย พริกไทยสามารถขึ้นได้ ในดินทั่วๆไปที่มีการระบายน้ำได้ดี และชอบอากาศที่อบอุ่นและชื้น ซึ่งอากาศแบบนี้จะอยู่แถวจันทบุรี ระยอง และตราด

โกฐหัวบัว แก้ลมในกองริดสีดวง และกระจายลมทั้งปวง (หมายถึง ลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอน ๆ ทำให้ผายหรือเรอออกมา)

ชื่อ : โกฐหัวบัว
ชื่ออื่น : ชวนซฺยง (จีนกลาง), ชวนเกียง (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Szechwan Lovage Rhizome
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Conioselinum univitatum   Trucz
วงศ์ : Umbelliferae
โกฐหัวบัว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. ทั้งต้นมียางขาว ลักษณะใบ :ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปฝ่ามือ ขอบใบเว้าลึก 3-4 แฉก ใบอ่อนสีแดงอมม่วง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวอมแดง ก้านสีแดงมีขน ดอกสีแดงเข้ม ออกเป็นช่อที่ ปลายกิ่ง ผลค่อนข้างกลม มี 3 พู เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดขนาดเล็ก 3 เมล็ด

สรรพคุณ : แก้ลมอันเกิดจากอาการริดสีดวงภายในลำไส้ แก้ขับไล่กระจายกองลมทั้งปวงในกระเพาะทำให้ผายลมหรืออาการเรอออกมาทางปาก เจริญอาหารระงับอาการคลื่นเหียนในลำไส้ ฯ

สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย:
โกฐหัวบัว มีกลิ่นหอม รสมัน สรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง และกระจายลมทั้งปวง (หมายถึง
ลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอน ๆ ทำให้ผายหรือเรอออกมา) ยาไทยมักไม่ใช้โกฐหัวบัวเดี่ยว แต่มักใช้ร่วมกับยาอื่นในตำรับ

สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน:
โกฐหัวบัว รสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด รักษาอาการปวดจากเลือดคั่ง
กระจายการตีบของเส้นเลือด (ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลาหลังคลอดเจ็บชายโครง เจ็บบริเวณหัวใจ เจ็บหน้าอก เจ็บจากการฟกช้ำ ช้ำบวมจากฝีหนอง) และมีฤทธิ์ขับลม บรรเทาปวด รักษาอาการปวดศีรษะ อาการปวดจากการคั่งของชี่และเลือด

โกฐหัวบัวผัดเหล้า จะช่วยนำตัวยาขึ้นส่วนบนของร่างกาย มีฤทธิ์แรงในการระงับปวด ช่วยให้การ
ไหลเวียนของเลือดและชี่ภายในร่างกายดีขึ้น โดยทั่วไปใช้รักษาอาการปวดศีรษะจากการคั่งของเลือด และโรคไมเกรน

ขนาดที่ใช้และวิธีใช้:
การแพทย์แผนจีน ใช้ขนาด 3-9 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม

1. สารสกัดน้ำเมื่อให้ทางปากหนูขาวในขนาดเทียบเท่าผงยา 25-50 กรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์สงบ
ประสาท และจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในหนูถีบจักร สารสกัดมีฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โกฐหัวบัวในขนาดต่ำ ๆ มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกของกระต่าย แต่เมื่อให้ในขนาดสูงจะยับยั้งการบีบตัวอย่างสมบูรณ์


2. โกฐหัวบัวมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด บรรเทาอาการปวดหลังคลอดช่วยให้รกหรือเนื้อเยื่อของมดลูกที่ตายแล้วถูกขับออกมาได้ดี สารสกัดมีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของมดลูก ทำให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้น จึงไม่แนะนำให้ใช้ขณะมีอาการปวดประจำเดือน หรือโรคที่เกี่ยวกับการตกเลือดอื่น ๆ

3. การศึกษาพิษเฉียบพลันโดยฉีดสารสกัดน้ำเข้าช่องท้องและกล้ามเนื้อหนูถีบจักร พบว่าขนาด
ของสารสกัดที่ทำให้หนูถีบจักรตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 65.86 และ 66.42 กรัม/กิโลกรัมตามลำดับ

การเตรียมตัวยาพร้อมใช้:
การเตรียมตัวยาพร้อมใช้มี 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 โกฐหัวบัว เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้ มาแช่น้ำสักครู่ ล้างน้ำให้สะอาด ใส่
ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม หั่นเป็นแว่นบาง ๆ และนำไปทำให้แห้ง

วิธีที่ 2 โกฐหัวบัวผัดเหล้า เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 1 ใส่ในภาชนะที่เหมาะสม เติมเหล้าเหลืองปริมาณพอเหมาะ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้จนกระทั่งเหล้าแทรกซึมเข้าในเนื้อตัวยา จากนั้นกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนำไปผัดโดยใช้ไฟระดับปานกลาง ผัดจนกระทั่งตัวยามีสีเหลืองอมน้ำตาล นำออกจากเตา ตากให้แห้งในที่ร่ม (ใช้เหล้าเหลือง 10 กิโลกรัม ต่อตัวยา 100 กิโลกรัม)

คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก:
ตัวยาที่มีคุณภาพดี ต้องเป็นแว่นขนาดใหญ่ อวบอิ่ม เนื้อแข็ง มีกลิ่นหอมฉุน และมีน้ำมันมาก
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว:
เก็บเกี่ยวเหง้าสดในฤดูร้อนเมื่อตาของลำต้นเริ่มเห็นเป็นตุ่มชัดเจนและมีสีม่วงอ่อน ๆ แยกลำต้นใบ และดินออก นำไปตากในที่ร่มจนตัวยาแห้งประมาณร้อยละ 50 แล้วนำไปปิ้งไฟอ่อน ๆ จนกระทั่งแห้งแยกเอารากฝอยทิ้ง เก็บรักษาไว้ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี

โกฐสอ แก้ไข้ แก้หืด แก้เสมหะทำให้เกิดคันคอแล้วไอ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น

ชื่อ : โกฐสอ
ชื่ออื่น : โกฐสอ, ดอกโกฐสอ, ต้นโกฐสอ, ใบโกฐสอ, ผลโกฐสอ, รากโกฐสอ, โกฐสอจีน, ป๋ายจื่อ, แปะจี้
ชื่อสามัญ : Dhurian angelica root
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Angelica dahurica (Fisch.ex Hoffm.) Benth. et Hook. f. หรือ A. dahurica (Fisch.ex Hoffm.) Benth. et Hook. f. var. formosana (Boiss.) Shan et Yuan
วงศ์ : Umbelliferae
โกฐสอ

โกฐสอเป็นสมุนไพรจีนที่มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณของไทยอย่างกว้างขวาง และมีการกล่าวกันว่า โกฐสอได้มาจากพันธุ์ไม้ต่างๆ ได้แก่ Angelica dahurica Benth. Et Hook., Angelica anomala Lall., Angelica taiwaniana Boiss. และ Heracleum scabridum Franch. แต่จากการสำรวจและรวบรวมสมุนไพรโกฐสอ พบว่าสมุนไพรโกฐสอมีลักษณะแตกต่างมีแบ่งแยกได้เพียง 2 ชนิด และเมื่อได้นำมาศึกษาทั้งลักษณะภายนอกและลักษณะภายใน เปรียบเทียบกับรากของพันธุ์ไม้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เป็นที่เชื่อแน่ว่าสมุนไพรโกฐสอที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นสมุนไพรที่ได้มาจากพันธุ์ไม้ที่มีชื่อว่า Angelica dahurica Benth. Et Hook. และ Angelica anomala Lall.

สรรพคุณ : แก้ไข้ แก้หืด แก้เสมหะทำให้เกิดคันคอแล้วไอ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
ชาวจีนนิยมนำไปผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ทำเลี่ยงจุ๊ย คือ น้ำดื่มเย็น ๆ แก้ร้อนในกระหายน้ำในฤดูร้อน ฯ

ม้ากระทืบโรง บำรุงกำลัง ต้น บำรุงร่างกาย บำรุงความกำหนัด ช่วยขับน้ำย่อย เนื้อไม้ แก้ปวดหลัง แก้ปวดหัว

ชื่อ : ม้ากระทืบโรง
ชื่ออื่น : เดื่อเครือ ม้าทะลายโรง ม้าคอกแตก มันฤๅษี
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus pubigera Wall
วงศ์ : MORACEAE

เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่นมีน้ำยางขาว สูงถึง 25 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบผิวใบด้ายล่าง และฐานรองดอกอ่อนมีขนใบเดี่ยว เรื่องสลับ รูปใบหอก รูปไข่หรือรูปของขนานแกมวงรี กว้าง 7-9 ซม. ยาว 12-18 ซม. เปลือกสีน้ำตาล มีปุ่มขึ้นคล้ายหนามดอกช่อ ลักษณะทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่ในช่อเดี่ยวกัน ฐานรองดอกรูปทรงกลม ผลสด รูปทรงกลม ภายในสีแดง

สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้ เถา บำรุงกำลัง ต้น บำรุงร่างกาย บำรุงความกำหนัด ช่วยขับน้ำย่อย เนื้อไม้ แก้ปวดหลัง แก้ปวดหัว ทั้งต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง

ขยายพันธุ์ ด้วยการตัดเถาม้ากระทืบโรงยาวประมาณ 1 คืบ นำมาปักชำได้

โด่ไม่รู้ล้ม ใช้ทำยาแก้ไอ วัณโรค แก้ไข้เหน็บชา บำรุงหัวใจบำรุงกำหนัด

ชื่อ : โด่ไม่รู้ล้ม
ชื่ออื่น : หนาดมีแคลน, หนาดผา, ตะชีโกวะ, หญ้าไก่นกคุ่ม, หนาดผา,ขี้ไฟนกคุ่ม
ชื่อสามัญ : Prickly-leaved elephant's foot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephantopus scaber L.
วงศ์ : Asteraceae
โด่ไม่รู้ล้ม

ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน ต้นแข็ง ตั้งตรง ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับที่โคนใกล้ผิวดิน ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแน่น ก้านช่อดอกยาว ดอกสีม่วงหรือขาว การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

ใช้ทำยาแก้ไอ วัณโรค แก้ไข้เหน็บชา บำรุงหัวใจบำรุงกำหนัด ห้ามเลือดกำเดา ขับน้ำเหลืองเสีย

ลำต้นและใบ เป็นยาบำรุงเลือด ทำให้อยากอาหาร เหมาะสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ
รากและใบต้มเป็นยารักษาโรคบิด ท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก กินแก้กามโรค ส่วนราก หากนำมาตำผสมกับพริกไทยจะแก้อาการปวดฟันได้ หรือนำมาต้มทานหลังคลอด แก้อาเจียนได้
สรรพคุณ :
     มีรสขื่น แก้ปัสสาวะ และบำรุงความกำหนัด มีรสกร่อย จืด ขื่นเล็กน้อย รับประทานทำให้เกิดกษัยแต่มีกำลัง ทั้งต้นต้มรับประทานต่างน้ำ แก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาเลเรียดี ใช้ต้มรับประทานแก้ไอ สำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ บางตำรากล่าวว่า แก้กษัย บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือดกำเดา แก้ดีซ่าน นิ่ว บิด เหน็บชา ท้องมาน ฝีฝักบัว


ข้อห้ามใช้ :
    ห้ามใช้ในผู้หญิงท้อง และผู้ที่อาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ไม่กระหายน้ำ ชอบดื่มของร้อน ปวดท้อง ท้องร่วง ปัสสาวะและปริมาณมาก มีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา

กำแพงเจ็ดชั้น หรือหลุ่มนก, น้ำนอง มะต่อมไก่

ชื่อ : กำแพงเจ็ดชั้น
ชื่ออื่น : หลุ่มนก (ภาคใต้),   ตะลุ่มนก (ราชบุรี),  น้ำนอง มะต่อมไก่ (ภาคเหนือ), กำแพงเจ็ดชั้น (ระยอง, ตราด, ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacia chinensis   L.
วงศ์ : CELASTRACEAE
กำแพงเจ็ดชั้น

กำแพงเจ็ดชั้น  เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูงประมาณ 2-6 ม. ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปรี หรือ
รูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบหยักหยาบๆ     ดอก  ดอกออกเป็นกลุ่ม
หรือเป็นช่อสั้นๆ ที่ง่ามใบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลือง กลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก
 5 กลีบ รูปไข่ป้อม ผล ผลค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลสุกสีแดงหรือ
แดงอมส้ม มี 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม

ขิง เหง้าขิงแห้ง ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ

ชื่อ : ขิง  เหง้าขิงแห้ง
ชื่ออื่น : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง), เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe
วงศ์ : Zingiberaceae
ขิง  เหง้าขิงแห้ง

ขิงเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางนำปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสองแคบและจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก ดอก สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา 15 - 25 ซม. ทุกๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับ กาบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะขยายอ้าให้ เห็นดอกในภายหลัง กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออกเกสรผู้มี 6 อัน ผล กลม แข็ง โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.

สรรพคุณของขิงสดตากแห้ง กับเหง้าขิงแห้ง นั้นแตกต่างกัน
ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า ปลูกในดินร่วนซุยผสมปุ๋ยหมัก หรือดินเหนียวปนทราย โดยยกดินเป็นร่องห่างกัน 30 ซม. ปลูกห่างกัน 20 ซม. ลึก 5 - 10 ซม. ขิงชอบขึ้นในที่ชื้นมีการระบายน้ำดี ถ้าน้ำขังอาจโดนโรคเชื้อรา และการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจเป็นการลงทุนสูงแต่คุ้มค่าและจะได้พันธุ์ที่ปลอดเชื้อ เพราะส่วนใหญ่โรคที่พบมักติดมากับท่อนพันธุ์ขิง

คัมภีร์สรรพคุณยา เรื่องเกี่ยวกับพิกัดตรีผลา ตรีกฏุก ตรีสาร กล่าวไว้ว่า

ขิงแห้ง มีรสอันหวาน ย่อมแก้พรรดึก แก้ไข้จับ แก้นอนมิหลับ แก้ลมพานไส้ แก้ลมแน่นในทรวง แก้ลมเสียดแทงคลื่นเหียน แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ไอลึกในทรวงอก

ขิงสด มีรสหวาน ร้อน เผ็ด เหง้าจำเริญอากาศธาตุ ดอกแก้โรคอันบังเกิดแต่ดวงหทัย ใบแก้กำเดาให้บริบูรณ์ ต้นสกัดลมสลสู่คูถทวาร รากแก้เสียงให้เพราะ แลเจริญอาหาร มีรสเผ็ดร้อน แก้ลมในกองไฟธาตุให้กระจายเสีย แก้ลมพรรดึก แก้จุกเสียด แก้โรคในอก เจริญอาหาร แก้ไข้ 10 ประการให้สมบูรณ์

เหง้า: รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
แก่น : ฝนทำยาแก้คัน

ขิงแห้ง กับขิงสด นั้นเป็นตัวยาคนละตัว อาจมีข้อโต้แย้งว่า เหง้าขิงสดตากแห้งก็กลายเป็นเหง้าขิงแห้ง ในกรณีนี้ขอตั้งข้อสังเกตว่า ในคัมภีร์แพทย์แผนไทย ไม่มีที่ใดจะแยกสรรพคุณตัวยาสดและสรรพคุณตัวยาแห้งให้แตกต่างกัน ดังนั้นคำว่าขิงสด และขิงแห้ง จึงน่าจะเป็นสมุนไพรต่างชนิดกัน และมีข้อบ่งใช้ต่างกัน ขิงแห้ง น่าจะเป็นตัวเดียวกับ ขิงแคลง ซึ่งมีการปลูกที่ระยอง จันทบุรี และทางใต้ มีลักษณะเป็นแง่งเล็ก ไหลไปตามพื้นดินปนทราย ชอบขึ้นบนคบไม้ ลักษณะแห้งๆ คนภาคใต้จึงเรียกว่า ขิงแห้ง ภาคตะวันออกเรียกว่าขิงแคลง แต่เสียงอาจเพี้ยนเป็นขิงแห้งไป ขิงแคลงนี้ มีกลิ่นหอม รสปร่าเหมือนรสข่าใหญ่ ไม่เหมือนกลิ่นของขิงสด เนื้อในสีเหลืองอ่อนซีด ใช้ขับลมได้ดี

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

   ในเหง้าขิงมี น้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บรักษา ในน้ำมันประกอบด้วยสารเคมี ที่สำคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) , ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) , ไบซาโบลี (bisabolene) และแคมฟีน (camphene) มีน้ำมัน (oleo - resin) ในปริมาณสูง เป็นส่วนที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสำคัญ ในน้ำมันซัน ได้แก่ จินเจอรอล (gingerol) , โวกาออล (shogaol) , ซิงเจอโรน (zingerine) มีคุณสมบัติเป็นยากัดบูด กันหืน ใช้ใส่ในน้ำมันหรือไขมัน เพื่อป้องกันการบูดหืน สารที่ทำให้ขิงมีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้คือ สารจำพวกฟีนนอลิค

เจตมูลเพลิงขาว เจตมูลเพลิงแดง

ชื่อ : เจตมูลเพลิงขาว เจตมูลเพลิงแดง
ชื่ออื่น : ปิดปิวแดง (อีสาน, เหนือ), คุ้ยวู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ไฟใต้ดิน (ใต้), ตั้งชูโว้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), อุบะกูจ๊ะ (มาเลย์), Rose Colored Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumbago indica Linn., P. rosea Linn.
วงศ์ : PLUMBAGINACEAE
เจตมูลเพลิงขาว เจตมูลเพลิงแดง

ลักษณะ: เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑-๒ ม. ลำต้นสีเขียวออกแดงเข้ม ใบเดี่ยว โตกว่าใบมะลิเล็กน้อย สีเขียวอมแดง ดอกช่อสีแดง ผลเป็นฝักกลม จะแตกออกเมื่อแก่ เกิดตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป รากสีน้ำตาลดำ เป็นเส้นๆ มีรัศมีความร้อนออกรอบๆ ต้น ไม่ควรปลูกไว้ในบ้าน เป็นพืชที่น่าปลูกเพื่อทำการค้า ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการของตลาดดีมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และการปักชำ

เจตมูลเพลิงแดง

ใบ: รสร้อน แก้อพัทธปิตตะสมุฏฐาน (น้ำดีนอกฝัก) แก้ลมในกองเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม
ดอก: รสร้อน แก้พัทธปิตตะสมุฏฐาน (น้ำดีในฝัก)
ต้น: รสร้อน แก้โลหิตอันเกิดแต่กองกำเดา
ราก: รสร้อน บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ขับโลหิตระดู แก้ริดสีดวงทวาร เกลื่อนฝี ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กระจายเลือดลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย มีฤทธิ์บีบมดลูก ทำให้แท้งได้ ทาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
สารสำคัญ:
ราก: มีสารจำพวก naphthaquinone ชื่อว่า plumbagin, d-naphthaquinone      


เจตมูลเพลิงขาว
ใบ: รสร้อน แก้ลมในกองเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม
ดอก: รสร้อน แก้โรคตา แก้โรคให้หนาวให้เย็น
ต้น: รสร้อน ขับระดู ชำระมลทินให้ตกไป
ราก: รสร้อน ขับลมในอก ขับโลหิตอันมีพิษ แก้ริดสีดวง แก้บวม แก้คุดทะราด บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย กระจายเลือดลม
สารสำคัญ:
ราก: มี Plumbagin, Chloroplumbagin, Sistosterol เป็นต้น

ชะพลู หรือช้าพลู หรือรากชะพลู หรือรากช้าพลู ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง

ชื่อ : ชะพลู  ช้าพลู  รากชะพลู  รากช้าพลู
ชื่ออื่น :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb
วงศ์ : Piperaceae
ชะพลู  หรือช้าพลู  หรือรากชะพลู  หรือรากช้าพลู

ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา" "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค" "ผักปูลิง" "ผักนางเลิด" "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"

    ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อนๆ ดอกออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่า


ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสารเบต้า-แคโรทีนสูงมาก


การกระจายพันธุ์
ชะพลูพบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน[3]

การปลูกเลี้ยง
ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้

ข้อควรระวัง
     ใบชะพลูมีสารกลุ่มออกซาเลต (Oxalate) ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสารที่สามารถทำให้เกิดนิ่วในไตได้ ถ้าหากร่างกายได้รับการสะสม จึงควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้สารดังกล่าวถูกเจือจ่าง ถูกขับถ่ายมาทางปัสสวะ หรือทานอาหารจำพวกโปรตีนสูงๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วก็ได้

ดีปลี แก้ปวดฟัน จุกเสียด แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ดอกนั้นรสเผ็ดร้อนขม แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืดหอบ แก้ลม วิงเวียนปรุงเป็นยาธาตุ แก้ตับพิการ

ชื่อ : ดีปลี
ชื่ออื่น :
ชื่อสามัญ : Long Pepper, Indian Long Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper chaba Hunt
วงศ์ : PIPERACEAE
ดีปลี

ดีปลีเป็น เป็นพืชเดียวกันกับชะพลูและพลู กลิ่นหอม เป็นสิ่งคู่กันกับพืชในวงศ์นี้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหยซ่อนอยู่ในใช ลำต้น และผลดีปลีนั้นจะว่าไปก็เหมือนพืชผักที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักได้ยินแต่ชื่อว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง แต่ต้น ผล ใบนั้นจะมีรูปร่างอย่างไรก็ไม่รู้

   อย่าว่าแต่ต้นเลย ดีปลีที่เป็นเครื่องเทศแล้วก็คงมีไม่มากคนที่รู้จัก นอกจากคนที่ต้องใช้บ่อย ๆ
 
   ตามพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีความชื้นสูง มักจะมีพืชในวงศ์ PIPERACEAE หรือวงศ์พริกไทย ขึ้นได้ดีมีมากมาย พืชในวงศ์นี้ก็ได้แก่พริกไทย ชะพลูและพลู ดีปลีของเราก็เป็นหนึ่งในสมาชิกวงศ์พืชดังกล่าวนี้ด้วย ดีปลีนั้นเติบโตได้ดีในทุกภาค ขอเพียงให้ชุ่มชื้น มีแดดเพียงร่มรำไร ดีปลีก็แตกดอกออกผลให้คนมาเก็บไปกิน และเก็บไปตากแห้งทำยา ทำเครื่องเทศปรุงรสปรุงกลิ่นอาหารให้น่ารับประทาน
 คุณค่าทางอาหาร

     ทางปักษ์ใต้เจ้าของอาหารรสจัดจ้านร้อนแรงก็ย่อมมีดีปลีเป็นส่วนประกอบ แต่ที่เด็ดขาดกว่าใครก็คือกินลูกอ่อนของดีปลีเป็นผักสด เข้าใจว่าเมื่อเป็นลูกอ่อนนั้นน่าจะรับประทานง่ายไม่ฉุนเท่าเมื่อเป็นเครื่องเทศ
    เครื่องเทศที่ว่านั้นได้มาจากผลสุก นำมาตากแห้งใช้ประกอบกับแกงคั่ว แกงเผ็ด เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ในอาหาร บางที่ก็นำมาแต่งกลิ่นผักดอง
ลักษณะทั่วไปของดีปลี

       เถาดีปลีนั้นมีรากออกตามข้อสำหรับเกาะ และเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็งมีข้อนูน แตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ ใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบเป็นมัน
       ดอก ออกเป็นช่อตรงข้ามกัน ลักษณะเป็นแท่ง ปลายเรียวมน ผลเล็ก กลม ฝังตัวกับช่อดอก
       ผลอ่อนสีเขียว รสเผ็ด เมื่อสุกเป็นสีแดง
ในผลสุกของดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันของดีปลีตามการวิจัยของสถาบันการแพทย์แผนไทยบอกว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงด้วงงวงและด้วงถั่ว ถ้าหากนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงสูตรจากธรรมชาติก็ไม่เลว

    คุณประโยชน์ด้านสมุนไพรของดีปลีนั้นมากมายมหาศาล เริ่มตั้งแต่ลำต้นหรือเถา รสเผ็ดร้อน แก้ปวดฟัน จุกเสียด แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ดอกนั้นรสเผ็ดร้อนขม แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืดหอบ แก้ลม วิงเวียนปรุงเป็นยาธาตุ แก้ตับพิการ รากรสเผ็ดร้อนขม แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาต
    ดอกแก่ต้มน้ำดื่มแก้ ท้องอืดท้องเฟ้อและช่วยให้หายวิงเวียน ส่วนหากจะแก้ไข ให้ใช้ดอกแก่แห้งครึ่งกำมือฝนกับน้ำมะนาว กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ
     คุณประโยชน์หลายสถานนี่เอง ดีปลีจึงมีชื่ดีตั้งแต่ชื่อจนถึงต้นเถา
ดีปลีชอบความชื้นสูง หากฝนตกชุกก็เป็นที่ถูกใจ เพียงกิ่งแก่ ๆ มาปักชำรดน้ำฉ่ำชุ่ม พอรากงอกและต้นตั้งตัวได้ก็นำลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ สำหรับหลักให้เลื้อยพันนั้นมักนิยมใช้เสาไม้ที่แข็งแรงหรือใช้เสาซีเมนต์ หรืออาจปล่อยให้ไต่ไปบนรั้ว กำแพงหรือต้นไม้อื่น ๆ ดีปลีนิสัยดี ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้อื่น แต่ขออาศัยยึดเกาเฉย ๆ ใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นเจ้าของเถาดีปลีได้ หรือจะปลูกเป็นไม้ประดับชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื้น หรือดูผลที่เป็นสีเหลืองเมื่อจวนสุก แดงเมื่อสุกแล้ว พราวไปทั้งเถาที่เป็นที่นิยม

สะค้าน หรือจะค้าน หรือตะค้านเล็ก หรือตะค้านหยวก

ชื่อ : สะค้าน
ชื่ออื่น : จะค้าน ตะค้านเล็ก ตะค้านหยวก
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper interruptum Opiz (P. ribesoides Wall.)
วงศ์ : Piperaceae
สะค้าน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : สะค้านเป็นไม้เถา ขนาดกลาง มีข้อปล้อง เนื้อไม้เป็นเส้นยาว หน้าตัดตามขวางมีลาย เป็นเส้นรัศมี เปลือกค่อนข้างอ่อน เนื้อไม้สีขาว ใบเดี่ยวรูปใบหอกกว้างคล้ายใบพริกไทย แต่แคบกว่า ปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม

ส่วนที่ใช้ : เถา
สรรพคุณ : เถาสะค้าน มีรส เผ็ดร้อน แก้ลมอันบังเกิดในกองธาตุ กองสมุฏฐาน ขับ ลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ทำให้ผายเรอ ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้ลมในกองเสมหะและโลหิต ขับลม ในลำไส้ แก้ธาตุพิการ แน่น จุกเสียด และราก มีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้หืด แก้จุกเสียด บำรุงธาตุ

ช่วยแก้อาการทั้งปวงในกองธาตุลมทั้ง ๖ เป็นต้นว่า ท้องเต็มไปด้วยลม หาวเรอ ผายลม ถอนหายใจใหญ่ เบื่ออาหาร มือเท้าเย็น ปากแห้ง คอแห้ง คลื่นเหียนอาเจียนจนถึงขั้นหายใจขัดหรือหายใจเข้าน้อย หายใจออกมา

เถาโคคลาน มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ใช้เป็นยารักษาพิษในคนที่กินยานอนหลับจำพวกบาร์บิทุเรต ( Barbiturate ) กินเกินขนาด

ชื่อ : เถาโคคลาน
ชื่ออื่น : ขมิ้นเครือ (บางภาคเรียก), โคคลาน (ตามตำรายาไทย)
ชื่อสามัญ : Cocculus, indian Berry, Fishberry , Cocculus Indicus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anamirta cocculus (Linne) Wight et Arnolt
วงศ์ : MENISPERMACEAE
เถาโคคลาน

ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้เถา ลักษณะของเถานั้นจะกลม และโตเท่าขาของคนเรา หรือขนาดใหญ่จะโตเท่าต้นหมาก ก็มีเถานั้นจะยาวและเลื้อยพันขึ้นไปตามต้นไม้หรือตามพื้นดิน เถาอ่อนหรือกิ่งของเถาอ่อน นั้นจะมีหนาม สีผิวของเถาจะเป็นสีดำแดงคร่ำและจะแตกเป็นร่องระแหง   ใบจะมีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงปลายใบของมันจะแหลม ใบนั้นจะมีความยาวประมาณ 7-10 ซม ก้านใบจะยาวประมาณ 2.4-7 ซม.   ผลถ้าแก่เต็มที่จะมีสีแดง ส่วนเมล็ดนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว เมล็ดจะมีรสขมมากมักจะใช้ เบื่อปลา
ส่วนที่ใช้ : ผล และเมล็ด ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ผล จะมีสารพิโครท๊อกวิน ( Picrotoxin ) จะมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ใช้เป็นยารักษาพิษในคนที่กินยานอนหลับจำพวกบาร์บิทุเรต ( Barbiturate ) กินเกินขนาดหรือใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดในขนาด ปริมาณ 2 มิลลิกรัม ผลและเมล็ด ใช้เป็นส่วนผสมในขี้ผึ้ง เพื่อเป็นการบำบัดโรคผิวหนังเช่น โรคคันที่เกิดตามคอและหนัง ศรีษะซึ่งจะติดมาจากร้านตัดผม ( Barber is itch )

อัคคีทวาร รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน แก้ไอ แก้โรคเยื่อจักษุอักเสบ

ชื่อ : อัคคีทวาร
ชื่ออื่น : ตรีชวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน อัคคี (ภาคกลาง, เชียงใหม่)

อัคคีทวาร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum (L.) Moon. var.wallichii C.B.Clarke
วงศ์ : Limiaceae (Labiatae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน บางข้อมี 3-4 ใบ เรียงรอบข้อ รูปรียาว โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีม่วงอ่อนอมฟ้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนาดไม่เท่ากัน ผล รูปค่อนข้างกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ เมล็ดเดี่ยว รูปกลมรี สีดำ

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก


*ทั้งต้น – รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
*ผล – แก้ไอ แก้โรคเยื่อจักษุอักเสบ
*ราก – ต้มผสมกับขิง แก้คลื่นเหียน
*ใบ, ราก, ต้น – ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

*ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
1. นำรากหรือต้นยาว 1-2 องคุลี ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาที่ริดสีดวงทวาร เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวง
2. นำใบ 10-20 ใบ มาตากแห้ง บดให้เป็นผง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นเม็ดขนาดเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกๆ วันติดต่อกัน 7-10 วัน
3. ใช้ใบแห้งป่นเป็นผง โรยในถ่านไฟ เผาเอาควันรมหัวริดสีดวงงอกทวารหนัก ให้ยุบฝ่อ

*ใช้รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
ใช้ใบและต้นตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน และพอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

*ใช้แก้เสียดท้อง
- ใช้ใบต้มรับประทานแก้เสียดท้อง
- ใช้รากผสมขิง และลูกผักชีต้ม แก้คลื่นเหียน อาเจียน

*แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ
ผลทั้งสุกและดิบ เคี้ยวค่อยๆ กลืนน้ำ แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ

*ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ลำต้น ต้มรับประทาน

เถาวัลย์เปรียง ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด

ชื่อ : เถาวัลย์เปรียง
ชื่ออื่น : เครือตาปา (โคราช), เครือเขาหนัง, เถาวัลย์เปรียง (ไทยภาคกลาง)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens (Roxb.) Benth.
วงศ์ : PAPILIONEAE

เถาวัลย์เปรียง
ต้น : เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่

ส่วนที่ใช้ : เถา และราก ใช้เป็นยา

เถา : นำมากินจะมีรสเฝื่อนเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ใช้สำหรับเด็กเป็นยาที่ดีมาก

ราก : จะมีสารพวก flavonol ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ

อื่น ๆ : พรรณไม้นี้บางจังหวัดใช้เถานำมาหั่นตาก แล้วคั่วไฟชงน้ำกิน แทนน้ำชา ทำให้เส้น หย่อนรักษาอาการเมื่อยขบ ส่วนใหญ่แล้ว มักนิยมใช้เถาวัลย์เปรียงแดง เพราะมีเนื้อไม้ เป็นสีแดงเรื่อ ๆ

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ขึ้นง่าย มักขึ้นเองตามชายป่า และที่โล่งทั่ว ๆ ไป เนื้อไม้ในเถานั้นจะเป็นวง ๆ คล้ายเถาคันแดง เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทย ใช้กันทุกจังหวัด
หมายเหตุ : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม
     
      ทั้งนี้ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม คือ การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องได้รับยาแก้ปวดร่วมด้วย  ซึ่งได้แก่ ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDS  แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงที่สำคัญคือระคายเคือง และทำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหารและยามีราคาแพง

        ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพรจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยสมุนไพร “เถาวัลย์เปรียง” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth. ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ซึ่งได้ผลดีมาก
     
       นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการวิจัย “เถาวัลย์เปรียง” พบสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้ ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
     
       ขณะเดียวกัน ทางสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง เมื่อทำการทดลองความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังได้ทดสอบสรรพคุณในอาสาสมัครโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบ Naproxen และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงก็พบว่าสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี และมีแนวโน้มว่าปลอดภัยกว่ายา Naproxen เพราะพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Naproxen มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียด แน่นท้อง ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่มีอาการข้างเคียงดังกล่าว
     
       ที่สำคัญคือ เมื่อเปรียบเทียบราคาของแคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียง 400 มก.กับยาแก้อักเสบ NSAIDS พบว่าแคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีราคาไม่เกิน 10 บาท ส่วนยากลุ่ม NSAIDSที่ระบุว่าไม่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารมีราคาสูงกว่าประมาณ 4 ถึง 6 เท่า
     
       ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว และอยู่ระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์การ-เภสัชกรรมในการสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆ ได้นำไปใช้กับผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น ในแถบภาคเหนือและอีสานที่มักเจ็บป่วยด้วยโรคปวดหลังและปวดตาม-ข้อหรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่างแพร่หลาย”
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด

ใบ : จะเป็นใบประกอบ ลักษณะจะเป็นใบกลม และเล็กคล้ายใบของต้นอันชัน ใบจะหนาและแข็ง มีใบย่อยอยู่ประมาณ 7 ใบ
ดอก : จะออกเป็นช่อสีขาวห้อยลง ส่วนกลีบรองดอกเป็นสีม่วงดำ ตรงปลายกลีบดอกนั้นจะเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ ดอกนั้นจะออกดกมาก และจะส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ
เมล็ด (ผล) : ผลนั้นจะออกเป็นฝักแบนเล็ก ๆ ภายในจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด

แสมทะเล ต้มกับน้ำแก้กษัย โดยมากจะต้มรวมกับแก่นแสมสาร เป็นยาขับเลือดเสียของสตรี

ชื่อ : แสมทะเล
ชื่ออื่น :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avicennia marina
วงศ์ : AVICENNIACEAE
แสมทะเล

ลักษณะทั่วไปของต้นแสมประกอบด้วย ใบ บริเวณเซลล์ผิวใบมีผนังหนาเป็นแผ่น มีปากใบ (Stoma) ที่ผิวใบด้านล่าง ป้องกันการระเหยของน้ำ นอกจากนี้ที่ใบยังมีต่อมขับเกลือ (Salt Gland) ช่วยควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือในพืช โดยขับออกทางใบ รากแสมเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วมถึง จึงมีรากพิเศษเรียกว่า รากหายใจ โผล่จากดินหรือโคลน เมล็ดแสมมีรากแก้วเป็นขนแข็งและงอนขึ้น จึงสามารถยึดเหนี่ยวดินไว้ให้แน่น ทำให้ต้นอ่อนทนทานกระแสน้ำ และคลื่นเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่เมล็ดจะงอกก่อนที่จะร่วงหล่นจากต้น เมื่อหล่นลงดินแล้ว เมล็ดก็จะแตกรากหยั่งลงดินได้ทันที การแพร่กระจายของเมล็ด อาศัยน้ำเป็นสื่อโดยต้นอ่อน หรือผลแก่สามารถลอยน้ำได้ จากการสำรวจในปี ๒๕๒๙ จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ ๙,๓๖๒ ไร่

แก่นแสมมีรสเค็มเฝื่อนต้มกับน้ำแก้กษัย โดยมากจะต้มรวมกับแก่นแสมสาร เป็นยาขับเลือดเสียของสตรี ใช้เป็นเชื้อเพลิง ก่อสร้าง เช่น เสาเข็ม เสาบ้าน แก่นต้นน้ำ แก้ลมในกระดูก แก้กษัย

โกฐเชียง หรือ โสมตังกุย สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไต

ชื่อ : โกฐเชียง  โสมตังกุย
ชื่ออื่น : กุยบ๊วย (จีน) Lovage      ตังกุย(จีน)
ชื่อสามัญ : Angelica sinensis (Oliv.)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Livisticum officnale Koch.
วงศ์ : UMBELLIFERAE

โกฐเชียง  โสมตังกุย
 ราก       รสหวานสุขุม  บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ป้องกันตับ และต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ  นอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไตและอื่นๆ
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน:
ตังกุย มีรสเผ็ดอมหวาน อุ่น มีฤทธิ์บำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียน รักษาโรคที่เลือดในระบบหัวใจและตับพร่อง (มีอาการหน้าซีดเหลือง วิงเวียน ใจสั่น) การไหลเวียนของเลือดติดขัด (มีอาการประจำเดือนไม่ปกติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มา) เลือดพร่องต่าง ๆ เช่น การไหลเวียนของเลือดติดขัดและมีความเย็นจับ (มีอาการเลือดคั่ง ฟกช้ำ ช้ำใน ปวดไขข้อ ไขข้ออักเสบ) ให้ความชุ่มชื้นกับลำไส้
(ลำไส้แห้ง ร้อน ท้องผูก) และมีฤทธิ์ระงับปวด รักษาโรคแผลฝีหนอง ลดอาการบวม แก้ปวด เป็นต้น
นอกจากนี้แพทย์แผนจีนนิยมใช้ในตำรับยาเกี่ยวกับโรคทางนรีเวช เช่น ใช้เป็นยาขับระดู แก้รกตี
ขึ้น ขับรกและแก้ไข้ในเรือนไฟ ยาเกี่ยวกับอาการเลือดออกทุกชนิด แก้หวัด แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ตกมูก
เลือด
ตังกุยโถว มีสรรพคุณบำรุงเลือด
โกฐเชียง หรือ ตังกุยเหว่ย มีสรรพคุณช่วยให้การไหลเวียนของเลือดไม่ติดขัด
ตังกุยผัดเหล้า จะช่วยเพิ่มฤทธิ์การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเลือด
พร่อง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก สตรีประจำเดือนไม่ปกติ โรคปวดไขข้อ และไขข้ออักเสบ
ตังกุยผัดดิน (ดินฝูหลงกาน) จะช่วยให้ตัวยาเข้าสู่ม้ามได้ดีขึ้นโดยมีฤทธิ์บำรุงเลือด เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยที่มีอาการเลือดพร่องถ่ายเหลว ปวดท้อง
ตังกุยถ่าน มีฤทธิ์ห้ามเลือดและบำรุงเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตกเลือดจากมดลูก และ
สตรีประจำเดือนมามากผิดปกติ
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย:
โกฐเชียง (ส่วนรากฝอย) มีกลิ่นหอม รสหวานขม สรรพคุณแก้ไข้ แก้สะอึก แก้ไอ แก้เสียด
แทงสองราวข้าง
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้:
การแพทย์แผนจีน ใช้ขนาด 6-12 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และอาการข้างเคียง:
สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร หรือผู้ที่ระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน อาเจียนเป็นเลือด
ไม่ควรรับประทาน
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง:
1. สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดและการปล่อยสาร serotonin ในหนูขาว10
เมื่อฉีดสารสกัดน้ำเข้าหลอดเลือดดำสุนัขในขนาดเทียบเท่าผงยา 10 กรัม/กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้น
การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้และมดลูก เมื่อฉีดสารสกัดน้ำและสารสกัดแอลกอฮอล์เข้าหลอดเลือดดำแมว หนูขาว และกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์เพิ่มการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกนอกจากนี้ยังพบว่าสาร polysaccharides มีฤทธิ์ในการสร้างเม็ดเลือด
2. เมื่อให้สารสกัดน้ำครั้งละ 5 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันนาน 1 สัปดาห์ จะลดอาการ
ปวดประจำเดือน และช่วยขับประจำเดือน จึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว สารสกัดน้ำ
ยังมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกและลดความหนืดของเลือดในสตรี และเมื่อฉีดสารสกัดน้ำเข้า
หลอดเลือดดำผู้ป่วยจำนวน 40 ราย ในขนาด 240 มิลลิลิตร/คน/วัน ติดต่อกันนาน 30 วัน ไม่ทำให้เกิด
อาการผิดปกติใด ๆ
3. มีรายงานการวิจัยพบว่า โกฐเชียงช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง ต้านการ
อักเสบ และรักษาโรคหอบหืด
4. เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดดำหนูถีบจักร ขนาดสารสกัดเทียบเท่าผงยาที่ทำให้หนูถีบจักร
ตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 100.6 กรัม/กิโลกรัม12
การเตรียมตัวยาพร้อมใช้มี 7 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 ตังกุย (ทั้งราก หรือ ทุกส่วน) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด
ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม ฝานเป็นแผ่นบาง ๆ และนำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 2 ตังกุยโถว (ส่วนหัว หรือ ส่วนเหง้าอวบสั้นที่อยู่ตอนบนสุด) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนหัวมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆประมาณ 4-6 แผ่น ต่อหัว (หรืออาจฝานตามยาวเป็นแผ่นบาง ๆ) นำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 3 ตังกุยเซิน หรืออาจเรียกว่า ตังกุย (ส่วนรากแก้วหลัก) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม ปอกเอาเปลือกรากทิ้ง เอาเฉพาะส่วนรากแก้วหลัก นำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 4 โกฐเชียง หรือ ตังกุยเหว่ย (ส่วนหาง หรือ ส่วนรากฝอย) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม แยกเอาเฉพาะส่วนรากฝอย ฝานเป็นแผ่น และนำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 5 ตังกุยผัดเหล้า เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ใส่ในภาชนะที่เหมาะสม เติมเหล้า
เหลืองปริมาณพอเหมาะ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน จนกระทั่งเหล้าแทรกซึมเข้าไปในเนื้อตัวยา จากนั้นนำไปผัดโดยใช้ไฟระดับปานกลาง ผัดจนกระทั่งตัวยามีสีเหลืองเข้ม นำออกจากเตา ตากให้แห้งในที่ร่ม (ใช้เหล้าเหลือง 10 กิโลกรัม ต่อตัวยา 100 กิโลกรัม)
วิธีที่ 6 ตังกุยผัดดิน (เป็นดินที่อยู่ในเตาเผาไฟเป็นระยะเวลานานมาก มักมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน คนจีนเรียกดินชนิดนี้ว่า ฝูหลงกาน) เตรียมโดยนำดินใส่ในภาชนะที่เหมาะสม ผัดจนกระทั่งดินร้อน ใส่ตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ลงไป ผัดจนกระทั่งดินเกาะติดตัวยาจนทั่ว นำออกจากเตา ร่อนเอาดินออก นำตัวยาที่ได้ไปวางแผ่ออก ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น (ใช้ดินฝูหลงกาน 30 กิโลกรัม ต่อตัวยา 100 กิโลกรัม)
วิธีที่ 7 ตังกุยถ่าน เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ใส่กระทะ ผัดโดยใช้ไฟระดับปานกลาง
ผัดจนกระทั่งผิวนอกของตัวยามีสีดำจาง ๆ นำออกจากเตา ตากให้แห้งในที่ร่ม

คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก:
ตัวยาที่มีคุณภาพดี ผิวนอกต้องมีสีน้ำตาลเหลือง ชุ่มชื้นเป็นมัน ด้านหน้าตัดสีขาวอมเหลือง และ
มีกลิ่นหอมกรุ่น