Health & Beauty

Beauty Bargains for You

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กำลังเสือโคร่ง เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ ทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง

กำลังเสือโคร่ง

นิยมปลูกไม้สมุนไพรสงสัยว่าต้น “กำลังเสือโคร่ง” มีกี่ชนิด เนื่องจากบางพื้นที่มีชื่อเรียกเหมือนกัน แต่ลักษณะต้นไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดความสับสน ไม่แน่ใจว่าต้นไหนเป็นต้นแท้ กันแน่ ซึ่ง ความจริงแล้วต้น “กำลังเสือโคร่ง” ที่เป็น ต้นแท้ จะพบขึ้นกระจายทั่วไปบนดอยสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนในภาคอื่นพบที่อีสานแต่น้อยมาก ชาวบ้าน สมัยก่อนนิยมใช้มีดถากเอาเปลือกต้นไปต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ ทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง
แก้ปวดเมื่อย ตามร่างกายได้ดีมาก ซึ่งเปลือกต้นจะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง กลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งไว้จนเปลือกแห้งกลิ่นหอมจะระเหยไปจนหมด ปัจจุบัน เพิ่งพบว่ามีต้น “กำลังเสือโคร่ง” ซึ่งเป็น ต้นแท้วางขาย จึงถ่ายภาพนำเสนอประกอบคอลัมน์ให้ชมด้วย จะได้ไม่ผิดเพี้ยนและแน่นอน
กำลังเสือโคร่ง หรือ ZIZIPHUS  ATTOPENSIS PIERRE อยู่ในวงศ์ RHAMNACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก ปลายแหลม โคนเบี้ยว เส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวเกลี้ยงเป็นมัน สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก สีออกขาวนวล “ผล” กลม มีเนื้อหุ้มเมล็ด 1 ผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อ เรียกอีก คือ  “กำลังพระยาเสือโคร่ง” (เชียงใหม่)  มีเขตการกระจายพันธุ์ที่ประเทศลาว
กำลังเสือโคร่ง นอกจากจะมีสรรพคุณตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสาน ยังใช้ เนื้อไม้ของ “กำลังเสือโคร่ง” ผสมกับต้น ม้าโรงแตก หรือ ม้ากระทืบโรงตัวผู้ ลำต้นข้าวหลาม แก่น หรือ รากเจ็ดช้างสารใหญ่  ลำต้น  กำลังช้างสาร  จำนวนเท่ากัน   ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย   บำรุงกำลังทางเพศ หรือใช้เนื้อไม้ “กำลังเสือโคร่ง” ผสมกับแก่นของต้น  หางรอก  ราก  เจ็ดช้างสารใหญ่  เนื้อไม้ ต้น  กำลังช้างสาร  จำนวนเท่ากัน  ต้มน้ำดื่มเช่นกัน เป็นยาบำรุงร่างกาย   และ   บำรุงกำลังทางเพศได้ เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น