Health & Beauty

Beauty Bargains for You

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เจตมูลเพลิงขาว เจตมูลเพลิงแดง

ชื่อ : เจตมูลเพลิงขาว เจตมูลเพลิงแดง
ชื่ออื่น : ปิดปิวแดง (อีสาน, เหนือ), คุ้ยวู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ไฟใต้ดิน (ใต้), ตั้งชูโว้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), อุบะกูจ๊ะ (มาเลย์), Rose Colored Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumbago indica Linn., P. rosea Linn.
วงศ์ : PLUMBAGINACEAE
เจตมูลเพลิงขาว เจตมูลเพลิงแดง

ลักษณะ: เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑-๒ ม. ลำต้นสีเขียวออกแดงเข้ม ใบเดี่ยว โตกว่าใบมะลิเล็กน้อย สีเขียวอมแดง ดอกช่อสีแดง ผลเป็นฝักกลม จะแตกออกเมื่อแก่ เกิดตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป รากสีน้ำตาลดำ เป็นเส้นๆ มีรัศมีความร้อนออกรอบๆ ต้น ไม่ควรปลูกไว้ในบ้าน เป็นพืชที่น่าปลูกเพื่อทำการค้า ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการของตลาดดีมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และการปักชำ

เจตมูลเพลิงแดง

ใบ: รสร้อน แก้อพัทธปิตตะสมุฏฐาน (น้ำดีนอกฝัก) แก้ลมในกองเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม
ดอก: รสร้อน แก้พัทธปิตตะสมุฏฐาน (น้ำดีในฝัก)
ต้น: รสร้อน แก้โลหิตอันเกิดแต่กองกำเดา
ราก: รสร้อน บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ขับโลหิตระดู แก้ริดสีดวงทวาร เกลื่อนฝี ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กระจายเลือดลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย มีฤทธิ์บีบมดลูก ทำให้แท้งได้ ทาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
สารสำคัญ:
ราก: มีสารจำพวก naphthaquinone ชื่อว่า plumbagin, d-naphthaquinone      


เจตมูลเพลิงขาว
ใบ: รสร้อน แก้ลมในกองเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม
ดอก: รสร้อน แก้โรคตา แก้โรคให้หนาวให้เย็น
ต้น: รสร้อน ขับระดู ชำระมลทินให้ตกไป
ราก: รสร้อน ขับลมในอก ขับโลหิตอันมีพิษ แก้ริดสีดวง แก้บวม แก้คุดทะราด บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย กระจายเลือดลม
สารสำคัญ:
ราก: มี Plumbagin, Chloroplumbagin, Sistosterol เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น