Health & Beauty

Beauty Bargains for You

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เถาวัลย์เปรียง ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด

ชื่อ : เถาวัลย์เปรียง
ชื่ออื่น : เครือตาปา (โคราช), เครือเขาหนัง, เถาวัลย์เปรียง (ไทยภาคกลาง)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens (Roxb.) Benth.
วงศ์ : PAPILIONEAE

เถาวัลย์เปรียง
ต้น : เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่

ส่วนที่ใช้ : เถา และราก ใช้เป็นยา

เถา : นำมากินจะมีรสเฝื่อนเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ใช้สำหรับเด็กเป็นยาที่ดีมาก

ราก : จะมีสารพวก flavonol ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ

อื่น ๆ : พรรณไม้นี้บางจังหวัดใช้เถานำมาหั่นตาก แล้วคั่วไฟชงน้ำกิน แทนน้ำชา ทำให้เส้น หย่อนรักษาอาการเมื่อยขบ ส่วนใหญ่แล้ว มักนิยมใช้เถาวัลย์เปรียงแดง เพราะมีเนื้อไม้ เป็นสีแดงเรื่อ ๆ

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ขึ้นง่าย มักขึ้นเองตามชายป่า และที่โล่งทั่ว ๆ ไป เนื้อไม้ในเถานั้นจะเป็นวง ๆ คล้ายเถาคันแดง เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทย ใช้กันทุกจังหวัด
หมายเหตุ : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม
     
      ทั้งนี้ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม คือ การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องได้รับยาแก้ปวดร่วมด้วย  ซึ่งได้แก่ ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDS  แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงที่สำคัญคือระคายเคือง และทำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหารและยามีราคาแพง

        ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพรจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยสมุนไพร “เถาวัลย์เปรียง” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth. ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ซึ่งได้ผลดีมาก
     
       นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการวิจัย “เถาวัลย์เปรียง” พบสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้ ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
     
       ขณะเดียวกัน ทางสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง เมื่อทำการทดลองความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังได้ทดสอบสรรพคุณในอาสาสมัครโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบ Naproxen และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงก็พบว่าสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี และมีแนวโน้มว่าปลอดภัยกว่ายา Naproxen เพราะพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Naproxen มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียด แน่นท้อง ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่มีอาการข้างเคียงดังกล่าว
     
       ที่สำคัญคือ เมื่อเปรียบเทียบราคาของแคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียง 400 มก.กับยาแก้อักเสบ NSAIDS พบว่าแคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีราคาไม่เกิน 10 บาท ส่วนยากลุ่ม NSAIDSที่ระบุว่าไม่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารมีราคาสูงกว่าประมาณ 4 ถึง 6 เท่า
     
       ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว และอยู่ระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์การ-เภสัชกรรมในการสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆ ได้นำไปใช้กับผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น ในแถบภาคเหนือและอีสานที่มักเจ็บป่วยด้วยโรคปวดหลังและปวดตาม-ข้อหรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่างแพร่หลาย”
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด

ใบ : จะเป็นใบประกอบ ลักษณะจะเป็นใบกลม และเล็กคล้ายใบของต้นอันชัน ใบจะหนาและแข็ง มีใบย่อยอยู่ประมาณ 7 ใบ
ดอก : จะออกเป็นช่อสีขาวห้อยลง ส่วนกลีบรองดอกเป็นสีม่วงดำ ตรงปลายกลีบดอกนั้นจะเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ ดอกนั้นจะออกดกมาก และจะส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ
เมล็ด (ผล) : ผลนั้นจะออกเป็นฝักแบนเล็ก ๆ ภายในจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น