Health & Beauty

Beauty Bargains for You

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โกฐเชียง หรือ โสมตังกุย สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไต

ชื่อ : โกฐเชียง  โสมตังกุย
ชื่ออื่น : กุยบ๊วย (จีน) Lovage      ตังกุย(จีน)
ชื่อสามัญ : Angelica sinensis (Oliv.)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Livisticum officnale Koch.
วงศ์ : UMBELLIFERAE

โกฐเชียง  โสมตังกุย
 ราก       รสหวานสุขุม  บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ป้องกันตับ และต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ  นอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไตและอื่นๆ
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน:
ตังกุย มีรสเผ็ดอมหวาน อุ่น มีฤทธิ์บำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียน รักษาโรคที่เลือดในระบบหัวใจและตับพร่อง (มีอาการหน้าซีดเหลือง วิงเวียน ใจสั่น) การไหลเวียนของเลือดติดขัด (มีอาการประจำเดือนไม่ปกติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มา) เลือดพร่องต่าง ๆ เช่น การไหลเวียนของเลือดติดขัดและมีความเย็นจับ (มีอาการเลือดคั่ง ฟกช้ำ ช้ำใน ปวดไขข้อ ไขข้ออักเสบ) ให้ความชุ่มชื้นกับลำไส้
(ลำไส้แห้ง ร้อน ท้องผูก) และมีฤทธิ์ระงับปวด รักษาโรคแผลฝีหนอง ลดอาการบวม แก้ปวด เป็นต้น
นอกจากนี้แพทย์แผนจีนนิยมใช้ในตำรับยาเกี่ยวกับโรคทางนรีเวช เช่น ใช้เป็นยาขับระดู แก้รกตี
ขึ้น ขับรกและแก้ไข้ในเรือนไฟ ยาเกี่ยวกับอาการเลือดออกทุกชนิด แก้หวัด แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ตกมูก
เลือด
ตังกุยโถว มีสรรพคุณบำรุงเลือด
โกฐเชียง หรือ ตังกุยเหว่ย มีสรรพคุณช่วยให้การไหลเวียนของเลือดไม่ติดขัด
ตังกุยผัดเหล้า จะช่วยเพิ่มฤทธิ์การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเลือด
พร่อง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก สตรีประจำเดือนไม่ปกติ โรคปวดไขข้อ และไขข้ออักเสบ
ตังกุยผัดดิน (ดินฝูหลงกาน) จะช่วยให้ตัวยาเข้าสู่ม้ามได้ดีขึ้นโดยมีฤทธิ์บำรุงเลือด เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยที่มีอาการเลือดพร่องถ่ายเหลว ปวดท้อง
ตังกุยถ่าน มีฤทธิ์ห้ามเลือดและบำรุงเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตกเลือดจากมดลูก และ
สตรีประจำเดือนมามากผิดปกติ
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย:
โกฐเชียง (ส่วนรากฝอย) มีกลิ่นหอม รสหวานขม สรรพคุณแก้ไข้ แก้สะอึก แก้ไอ แก้เสียด
แทงสองราวข้าง
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้:
การแพทย์แผนจีน ใช้ขนาด 6-12 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และอาการข้างเคียง:
สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร หรือผู้ที่ระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน อาเจียนเป็นเลือด
ไม่ควรรับประทาน
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง:
1. สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดและการปล่อยสาร serotonin ในหนูขาว10
เมื่อฉีดสารสกัดน้ำเข้าหลอดเลือดดำสุนัขในขนาดเทียบเท่าผงยา 10 กรัม/กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้น
การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้และมดลูก เมื่อฉีดสารสกัดน้ำและสารสกัดแอลกอฮอล์เข้าหลอดเลือดดำแมว หนูขาว และกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์เพิ่มการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกนอกจากนี้ยังพบว่าสาร polysaccharides มีฤทธิ์ในการสร้างเม็ดเลือด
2. เมื่อให้สารสกัดน้ำครั้งละ 5 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันนาน 1 สัปดาห์ จะลดอาการ
ปวดประจำเดือน และช่วยขับประจำเดือน จึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว สารสกัดน้ำ
ยังมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกและลดความหนืดของเลือดในสตรี และเมื่อฉีดสารสกัดน้ำเข้า
หลอดเลือดดำผู้ป่วยจำนวน 40 ราย ในขนาด 240 มิลลิลิตร/คน/วัน ติดต่อกันนาน 30 วัน ไม่ทำให้เกิด
อาการผิดปกติใด ๆ
3. มีรายงานการวิจัยพบว่า โกฐเชียงช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง ต้านการ
อักเสบ และรักษาโรคหอบหืด
4. เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดดำหนูถีบจักร ขนาดสารสกัดเทียบเท่าผงยาที่ทำให้หนูถีบจักร
ตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 100.6 กรัม/กิโลกรัม12
การเตรียมตัวยาพร้อมใช้มี 7 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 ตังกุย (ทั้งราก หรือ ทุกส่วน) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด
ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม ฝานเป็นแผ่นบาง ๆ และนำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 2 ตังกุยโถว (ส่วนหัว หรือ ส่วนเหง้าอวบสั้นที่อยู่ตอนบนสุด) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนหัวมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆประมาณ 4-6 แผ่น ต่อหัว (หรืออาจฝานตามยาวเป็นแผ่นบาง ๆ) นำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 3 ตังกุยเซิน หรืออาจเรียกว่า ตังกุย (ส่วนรากแก้วหลัก) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม ปอกเอาเปลือกรากทิ้ง เอาเฉพาะส่วนรากแก้วหลัก นำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 4 โกฐเชียง หรือ ตังกุยเหว่ย (ส่วนหาง หรือ ส่วนรากฝอย) เตรียมโดยนำวัตถุดิบสมุนไพร
ที่ได้ มาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม แยกเอาเฉพาะส่วนรากฝอย ฝานเป็นแผ่น และนำไปทำให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิต่ำ
วิธีที่ 5 ตังกุยผัดเหล้า เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ใส่ในภาชนะที่เหมาะสม เติมเหล้า
เหลืองปริมาณพอเหมาะ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน จนกระทั่งเหล้าแทรกซึมเข้าไปในเนื้อตัวยา จากนั้นนำไปผัดโดยใช้ไฟระดับปานกลาง ผัดจนกระทั่งตัวยามีสีเหลืองเข้ม นำออกจากเตา ตากให้แห้งในที่ร่ม (ใช้เหล้าเหลือง 10 กิโลกรัม ต่อตัวยา 100 กิโลกรัม)
วิธีที่ 6 ตังกุยผัดดิน (เป็นดินที่อยู่ในเตาเผาไฟเป็นระยะเวลานานมาก มักมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน คนจีนเรียกดินชนิดนี้ว่า ฝูหลงกาน) เตรียมโดยนำดินใส่ในภาชนะที่เหมาะสม ผัดจนกระทั่งดินร้อน ใส่ตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ลงไป ผัดจนกระทั่งดินเกาะติดตัวยาจนทั่ว นำออกจากเตา ร่อนเอาดินออก นำตัวยาที่ได้ไปวางแผ่ออก ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น (ใช้ดินฝูหลงกาน 30 กิโลกรัม ต่อตัวยา 100 กิโลกรัม)
วิธีที่ 7 ตังกุยถ่าน เตรียมโดยนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 3 ใส่กระทะ ผัดโดยใช้ไฟระดับปานกลาง
ผัดจนกระทั่งผิวนอกของตัวยามีสีดำจาง ๆ นำออกจากเตา ตากให้แห้งในที่ร่ม

คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก:
ตัวยาที่มีคุณภาพดี ผิวนอกต้องมีสีน้ำตาลเหลือง ชุ่มชื้นเป็นมัน ด้านหน้าตัดสีขาวอมเหลือง และ
มีกลิ่นหอมกรุ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น