Health & Beauty

Beauty Bargains for You

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชะพลู หรือช้าพลู หรือรากชะพลู หรือรากช้าพลู ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง

ชื่อ : ชะพลู  ช้าพลู  รากชะพลู  รากช้าพลู
ชื่ออื่น :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb
วงศ์ : Piperaceae
ชะพลู  หรือช้าพลู  หรือรากชะพลู  หรือรากช้าพลู

ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา" "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค" "ผักปูลิง" "ผักนางเลิด" "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"

    ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อนๆ ดอกออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่า


ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสารเบต้า-แคโรทีนสูงมาก


การกระจายพันธุ์
ชะพลูพบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน[3]

การปลูกเลี้ยง
ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้

ข้อควรระวัง
     ใบชะพลูมีสารกลุ่มออกซาเลต (Oxalate) ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสารที่สามารถทำให้เกิดนิ่วในไตได้ ถ้าหากร่างกายได้รับการสะสม จึงควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้สารดังกล่าวถูกเจือจ่าง ถูกขับถ่ายมาทางปัสสวะ หรือทานอาหารจำพวกโปรตีนสูงๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น